Page 72 - JRIHS_VOL1
P. 72
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 67
อยู่แล้ว ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาในกลุ่มวัยทํางานที่เป็นกลุ่มผู้สัมผัสอาหารที่เป็นกลุ่มวัยทํางาน
สําคัญในพื้นที่ต้องการศึกษา เนื่องจากพื้นที่เขตเทศบาลตําบลเมืองศรีไคเป็นพื้นที่ที่มีประชาชน
อาศัยอยู่เป็นนักศึกษา ซึ่งส่วนมากรับประทานอาหารจากร้านอาหารมากกว่าจะปรุงอาหาร
รับประทานเอง ผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสําคัญต่อประชาชนในพื้นที่ การ
ตรวจสุขภาพประจําปีจึงเป็นสิ่งสําคัญ เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารควรตระหนักและรับรู้ถึงภาวะ
สุขภาพของตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้สัมผัสอาหารเองอีกด้วย ดังนั้นผู้
สัมผัสอาหารควรใส่ใจสุขภาพของตนเองป้องกันโรคสู่ตนเองโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และ
ตรวจสุขภาพเป็นประจํา จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหารและศึกษาพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ ซึ่ง
การศึกษานี้จะทําให้ทราบถึงปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพและไม่ตรวจสุขภาพ อีก
ทั้งจะเป็นแนวทางในการจัดแผนงานหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพให้สอดคล้อง
กับการความต้องการในปัจจุบัน หรือปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ถูกต้องและเน้นให้เห็นข้อดีของการ
ตรวจสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สัมผัสอาหารต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. ศึกษาพฤติกรรมการตรวจสุขภาพชองผู้สัมผัสอาหาร
2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหาร
สมมติฐานการวิจัย
1. เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
2. อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
3. ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
4. รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
5. ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
6. ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ
7. ปัจจัยกระตุ้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ