Page 73 - JRIHS_VOL1
P. 73
68 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดใดจุดหนึ่ง (Cross-sectional
Analytical Study Design)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้สัมผัสอาหารจากร้านอาหารจํานวน
140 ร้าน ในเขตเทศบาลตําบลเมืองศรีไค อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยการเทียบค่าสัดส่วนจากตารางจํานวนประชากรและขนาดของ
ตัวอย่างของ เจอร์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ได้ตัวอย่างทั้งหมด 103 คน
โดยมีวิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา ดังนี้
1. รวบรวมรายชื่อแผงลอยจําหน่ายอาหารในเขตเทศบาลตําบลเมืองศรีไค
อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานีจากการสํารวจเฝ้าระวังสุขาภิบาลร้านอาหารของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเมืองศรีไคแล้วจัดทําสลากรายชื่อแผงลอยจําหน่ายอาหาร
2. ทําการสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อแผงลอยจําหน่ายอาหารจํานวน 140 ร้าน โดย
การสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากรายชื่อแผงลอยจําหน่ายอาหารให้ได้ตัวอย่างจํานวน 103
ร้าน
3. ทําการสุ่มผู้สัมผัสอาหารในแผงลอยจําหน่ายอาหารแต่ละร้านร้านละ 1 คน
เกณฑ์คัดเข้าศึกษา (Inclusion Criteria)
ตัวแทนผู้สัมผัสอาหารที่เป็นผู้ปรุงหรือผู้เสิร์ฟจากร้านอาหารที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปใน
เขตเทศบาลตําบลเมืองศรีไค อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี
เกณฑ์คัดออกจาการศึกษา (Exclusion Criteria)
ผู้สัมผัสอาหารที่ไม่อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลหลังจากติดตามไปแล้ว 2 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 5 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สัมผัสอาหารตามตัวแปร ประกอบด้วย อายุ
เพศ ระดับการศึกษา รายได้ ซึ่งแบบสอบถามด้านข้อมูลทั่วไปได้ประยุกต์มาจากแบบสอบถาม
ของอัจฉรา ว่องไวโรจน์ (2548) จํานวน 4 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ จํานวน 7 ข้อ ซึ่ง
ประยุกต์มาจากแบบสอบถามของอัจฉรา ว่องไวโรจน์ (2548)
ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยการรับรู้อุปสรรคของการตรวจสุขภาพ จํานวน 6 ข้อ