Page 71 - JRIHS_VOL1
P. 71

66  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            คือ การดูแลสุขภาพในภาวะที่ร่างกายยังปกติดีอยู่ เช่น การตรวจสุขภาพประจําปี ที่เป็นการ

            ประเมินภาวะของสุขภาพและคัดกรองโรคได้อีกด้วย (สมศักดิ์, 2555)
                    ปัจจุบันทั่วโลกให้การสนับสนุนและมุ่งเน้นการป้องกันโรค รวมไปถึงการตรวจสุขภาพ

            ประจําปี โดยจะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน พบว่ามีโครงการ หรือโปรแกรมการตรวจสุขภาพทุก
            โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน หรือสถานบริการด้านสุขภาพต่างๆ (สมศักดิ์, 2555) รวมไปถึง

            การตรวจสุขภาพประจําปี เป็นบริการสุขภาพที่น่าจะคุ้มกว่าเมื่อเทียบกับบริการสุขภาพเชิงรับ

            ซึ่งเป็นการรักษาคนที่ป่วยเป็นโรคและมีอาการมากแล้ว และยิ่งหากเป็นการตรวจคัดกรองเพื่อ
            ค้นหาโรคที่สามารถติดต่อได้ที่แฝงอยู่ในคนทั่วไปก็จะสามารถลดการแพร่กระจายของโรคไปยัง

            ผู้อื่นได้อีกด้วย โดยการตรวจสุขภาพนี้ได้มีการดําเนินการอย่างกว้างขวางในประเทศที่พัฒนาแล้ว
            (ชัยอนันต์, 2559) ซึ่งการการตรวจสุขภาพประจําปีในประเทศไทยพบว่ามีจัดสร้างนโยบาย การ

            ตรวจสุขภาพที่จําเป็นและเหมาะสมสําหรับประชาชน โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความเหมาะสมตาม

            กลุ่มอายุ เพศ อาชีพ (กรมการแพทย์, 2559) สถานการณ์การตรวจสุขภาพของประชาชนอายุ
            35 ปีขึ้นไป ในประเทศไทย พบว่าในปี พ.ศ.2552 มีจํานวน 821,319 คน ในปี พ.ศ. 2554 มี

            จํานวน 545,017 คน (สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2554) ในปี พ.ศ. 2556 มีจํานวน 543,018 คน

            ซึ่งพบว่ามีจํานวนลดลง และเมื่อจําแนกตามรายภูมิภาคของประเทศไทยในปี 2556 พบว่า
            ภาคเหนือมีจํานวนคนตรวจสุขภาพน้อยที่สุด รองลงมาคือภาคตะออกเฉียงเหนือ (กรมพัฒนา

            ชุมชน, 2556)
                    จากข้อมูลสถานการณ์การตรวจสุขภาพของกลุ่มอายุตั้ง 15 ปีขึ้นไปในจังหวัด

            อุบลราชธานีพบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (เดือนตุลาคม 2553 – ถึงเดือนมกราคม 2554)

            พบว่ามีประชากรได้รับการตรวจสุขภาพจํานวน 100,889 คน จากจํานวนประชากรทั้งหมด
            1,239,342 คน (สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, 2554) สําหรับในพื้นที่อําเภอวาริน

            ชําราบ พบว่า มีนโยบายการตรวจสุขภาพให้กับกลุ่มวัยทํางาน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ
            และภาคเอกชน ในหน่วยงานต่างๆให้ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ประชาชน

            มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเป็นพลังสําคัญของประเทศชาติ (กรมประชาสัมพันธ์, 2558)

                    จากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพประจําปี พบว่า มีการตรวจสุขภาพ
            ประจําปีในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทํางานเพราะ ถือเป็นวัยที่มี

            บทบาทสําคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นกลไกขับเคลื่อนผลผลิตของเศรษฐกิจ

            นอกจากยังนี้เป็นที่พึ่งของคนในครอบครัว (สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2554) ซึ่งการศึกษาที่ผ่าน
            มาเป็นกลุ่มวัยทํางานที่ทางบริษัทหรือสถานที่ทํางานจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจําปีเป็นประจํา
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76