Page 64 - JRIHS_VOL1
P. 64
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 59
ขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1994) ที่ว่าความตระหนักรู้ในตนเองนั้นเป็นความสามารถใน
การเข้าใจในจุดดี จุดด้อยของตนเอง อะไรที่ตนเองปรารถนา และไม่พึงปรารถนาและเข้าใจใน
ความแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการ
เข้าใจความรู้สึกและความเห็นใจบุคคลที่แตกต่างจากตนเองและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
อื่น ทําให้เกิดความสัมพันธ์อันดีทางสังคม สอดคล้องกับผลการศึกษาของอัญชลี ภูมิจันทึก
(2554) ที่ศึกษาการเสริมสร้างทักษะชีวิตกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันพฤติกรรมการมี
เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง
มีค่าเฉลี่ยคะแนน ความตระหนักรู้ในตนเองและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สูงกว่าก่อนทดลองและ
สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล จากผลการศึกษาพบว่า หลัง
การทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมี
เหตุผล สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(P-value<0.01) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย อธิบายได้ว่า เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมตาม
โปรแกรมสุขศึกษาที่มีเนื้อหากิจกรรมครอบคลุมการเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยกิจกรรม “ความ
เสี่ยงของฉัน” นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกการวิเคราะห์เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี โดยการ
แสดงบทบาทสมมติ วิเคราะห์กรณีศึกษา เป็นการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้ในตน
ความสามารถและด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติ
เพื่อป้องกันโรคเอดส์ สอดคล้องกับผลการศึกษาของวันวิสาข์ บัวลอย และคณะ (2555) ที่ศึกษา
ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์
ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่ม
ทดลองมีความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์
เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมี
ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่าก่อนการทดลองและสูง
กว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value<0.01) เป็นไปตาม
สมมติฐานการวิจัย อธิบายได้ว่า ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ เป็น
ความสามารถในการพูดหรือการสื่อความหมาย ในการปฏิเสธในเรื่องเพศ เพื่อไม่ให้เป็นการ
ทําลายสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ประกอบด้วยการยืนยันความคิดและ
ความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จาก