Page 59 - JRIHS_VOL1
P. 59

54  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

                             กิจกรรมที่ 1 เรื่อง “โรคเอดส์คืออะไร” การให้ความรู้ สร้างความตระหนัก

            เกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยการบรรยายและฐานการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ ระดมสมอง
            กิจกรรมเพื่อสร้างจิตสํานึกความรับผิดชอบ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                             กิจกรรมที่ 2 เรื่อง “ความเสี่ยงของฉัน” เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจแก่
            นักเรียน เกี่ยวกับช่องทางและสารคัดหลั่งที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี และเพื่อให้นักเรียนที่

            เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกการวิเคราะห์เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี โดยการแสดงบทบาทสมมติ

            วิเคราะห์กรณีศึกษา
                             กิจกรรมที่ 3 เรื่อง “ก้าวร้าว หรือ ยินยอมแต่โดยดี หรือ ยืนยันในตนเอง”

            เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจความแตกต่างของลักษณะการสื่อสารสามประเภท คือ การก้าวร้าว การ
            ยินยอมแต่โดยดี และการยืนยันในตนเอง

                             กิจกรรมที่ 4 เรื่อง “เป้าหมายสู่ความสําเร็จ”เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จัก

            การวางแผนเป้าหมายในชีวิต และหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความสําเร็จของชีวิต โดย
            การอภิปรายกลุ่ม การทําพันธะสัญญาใจ

                 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูล

            ทั่วไป ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และเติมคําลงในช่องว่าง เพื่อสํารวจ
            สถานภาพของผู้ตอบ 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เป็นแบบเลือกตอบ โดยให้คะแนน

            ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดและตอบไม่ทราบได้ 0 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 มีค่าความ
            ยาก (Level  of  Difficult : p)  ที่ 0.56  และมีค่าอํานาจจําแนก (Discrimination Power : r)

            ที่ 0.82 3) ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียน ใน 4 ด้าน จํานวน 26 ข้อ ลักษณะเป็น

            แบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ตัวเลือก  เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็น
            ด้วยน้อย เห็นด้วยน้อยที่สุด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92


            การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

                   เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้

            สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้
            สถิติอนุมานเปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วย Paired t-test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย

            Independent t-test กําหนดระดับนัยสําคัญที่ .05
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64