Page 66 - JRIHS_VOL1
P. 66

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  61

               มีประสิทธิผล สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียน

               มัธยมศึกษาปีที่ 2 นําไปขยายผลสู่กลุ่มนักเรียนในระดับเดียวกันได้


               ข้อเสนอแนะ

                      1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
                             1.1 สถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาควรนําโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ในการจัดการ

               เรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์ที่

               ถูกต้อง ส่งเสริมให้เกิดการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์
                         1.2 ควรนําโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม

               ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี
               ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านอื่นๆ เช่น การป้องกันยาเสพติด

                      2. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป

                       2.1 ควรวิจัยติดตามประเมินผลความคงทนของพฤติกรรมสุขภาพ  หลังการเข้าร่วม
               โปรแกรมสุขศึกษาไปแล้ว 6 เดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องใช้เวลานาน

               พอสมควรจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน และทราบถึงความคงทนของพฤติกรรม
               สุขภาพ

                         2.2 ควรทําการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน

               การวางแผนออกแบบกิจกรรมและเนื้อหาการเรียนรู้ที่ต้องการ และมีส่วนร่วมในการประเมินผล

               พฤติกรรมตนเองและเพื่อน

               เอกสารอ้างอิง

               จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.
                      ขอนแก่น : คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

               ทรงพล ต่อนี, จุฑามาศ เทพชัยศรี และเฉลียว ผลพิกุล. (2555). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดย

                      ประยุกต์ทักษะชีวิต ที่มีต่อทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียน.วารสารคณะ
                      พลศึกษา, 15 (ฉบับพิเศษ), 316-322.

               ภัทรภร สุราเสถียรกุล. การเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่ม และการเสริมแรงเพื่อ

                      การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร
                      วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 8(2), 126-178.
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71