Page 63 - JRIHS_VOL1
P. 63

58  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            อารมณ์ ให้กําลังใจ แบ่งปันสิ่งของ ชี้แนะ ให้คําแนะนําหรือข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์

            ตลอดจนให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองมีความมั่นคง และปลอดภัย
                    ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ จากผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย

            คะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมี
            นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value<0.01)   เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย อธิบายได้ว่า

            เป็นผลมาจากโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ที่จัด

            กิจกรรมการเรียนรู้โดยการผสมผสานวิธีการทางสุขศึกษา การสนับสนุนคู่มือทักษะชีวิตเพื่อ
            ป้องกันโรคเอดส์ ให้คําแนะนําในการศึกษาคู่มือ เยี่ยมให้กําลังใจ และกิจกรรม “โรคเอดส์คือ

            อะไร” เป็นการให้ความรู้ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยการบรรยายและฐานการ
            เรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ เมื่อมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จะนําไปสู่การพัฒนา

            พฤติกรรมการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคเอดส์ได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ Orem (1995

            : 56) ที่ว่าความรู้เป็นองค์ประกอบที่สําคัญในกระบวนการดูแลตนเอง เมื่อบุคคลมีความเข้าใจใน
            เรื่องใดก็จะนําไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น บุคคลที่สามารถดูแลตนเองได้อย่างมี

            ประสิทธิภาพต้องมีความรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมของตนเอง และใช้ความรู้ในการคิด

            พิจารณาและตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมดูแลตนเอง และสอดคล้องกับผลการศึกษาของของอัญชลี
            ภูมิจันทึก (2554) ที่ศึกษาการเสริมสร้างทักษะชีวิตกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกัน

            พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลังการ
            ทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม สูงกว่าก่อน

            ทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

                    การตระหนักรู้ในตน จากผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย
            คะแนนการตระหนักรู้ในตน สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมี

            นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value<0.01)  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย อธิบายได้ว่า

            การตระหนักรู้ในตนเองเป็นความสามารถของ นักเรียนในการประเมินสถานการณ์ คิด วิเคราะห์
            พฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงทางเพศ และสามารถ ตัดสินใจ ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

            ได้ กิจกรรม “ความเสี่ยงของฉัน” เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจแก่นักเรียน เกี่ยวกับช่องทางและ
            สารคัดหลั่งที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี และเพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกการ

            วิเคราะห์เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี โดยการแสดงบทบาทสมมติ วิเคราะห์กรณีศึกษา ส่งเสริมให้

            นักเรียนกลุ่มทดลองเกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเพิ่มมากขึ้น
            สอดคล้องตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตด้านความตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness)
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68