Page 60 - JRIHS_VOL1
P. 60
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 55
ผลการวิจัย
1. คุณลักษณะทางประชากร พบว่า กลุ่มทดลอง เป็นเพศชาย จํานวน 16 คน ร้อยละ
48.48 และเพศหญิง จํานวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 51.52 อาศัยอยู่กับบิดาและมารดามากที่สุด
จํานวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 78.79 สถานภาพของบิดา มารดา ส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน จํานวน 30
คน คิดเป็นร้อยละ 90.91 เมื่อมีปัญหาจะปรึกษาเพื่อนมากที่สุด จํานวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ
54.55 โดยแหล่งข้อมูลข่าวสารเรื่องเพศ ได้รับจากสื่อทางโทรทัศน์ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100
รองลงมาได้รับทางสื่ออินเตอร์เน็ต จํานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 93.94 ส่วนในกลุ่ม
เปรียบเทียบพบว่า เป็นเพศชาย จํานวน 16 คน ร้อยละ 48.48 และเพศหญิง จํานวน 17 คน คิดเป็น
ร้อยละ 51.52 อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา มากที่สุด จํานวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 90.91
สถานภาพของบิดา มารดา ส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน จํานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 93.94 เมื่อมี
ปัญหาจะปรึกษาเพื่อนมากที่สุด จํานวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 57.58 โดยแหล่งข้อมูลข่าวสาร
เรื่องเพศ ได้รับจากสื่อทางโทรทัศน์ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาได้รับทางสื่อ
อินเตอร์เน็ต จํานวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 87.88
2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้
ในตน ความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ความสามารถด้านการสื่อสาร
เพื่อป้องกันโรคเอดส์ และความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่าก่อนการทดลอง
อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value<0.01) ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะชีวิตฯ กลุ่มทดลอง ก่อนและหลัง
การทดลอง
ความรู้และทักษะชีวิตเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ก่อนทดลอง หลังทดลอง t P-value
X S.D. X S.D.
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 11.69 1.78 16.79 1.43 -18.64 .00
2. การตระหนักรู้ในตน 2.72 .26 4.22 .172 -28.89 .00
3. ความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจฯ 2.47 .24 4.26 .27 -40.06 .00
4. ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกัน 2.75 .30 4.22 .17 -23.87 .00
โรคเอดส์
5. ความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรค 2.71 .22 4.19 .22 -28.02 .00
เอดส์