Page 65 - JRIHS_VOL1
P. 65
60 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
กิจกรรม“ก้าวร้าว หรือ ยินยอมแต่โดยดี หรือ ยืนยันในตนเอง” มีการฝึกการสื่อสารใน
สถานการณ์จําลองที่อาจเกิดขึ้นจริงในชีวิตประจําวัน ให้นักเรียนได้แสดงบทบาทสมมติฝึกคิด
และปฏิบัติการสื่อสาร ความแตกต่างของลักษณะการสื่อสารสามประเภท คือ การก้าวร้าว การ
ยินยอมแต่โดยดี และการยืนยันในตนเอง เป็นการเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อ
ป้องกันโรคเอดส์ ให้สามารถเลือกใช้ทักษะการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
สอดคล้องกับผลการศึกษาของทรงพล ต่อนี, จุฑามาศ เทพชัยศรี และเฉลียว ผลพิกุล (2555) ที่
ศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิต ที่มีต่อทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์
ของนักเรียน พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตนักเรียนมีทักษะการ
สื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับผลการศึกษาของอุษา หีดนาคราม (2558) ที่ศึกษาผลของการ
พัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้ปกครองต่อการสื่อสารเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีระหว่าง
ผู้ปกครองกับบุตรวัยรุ่นตอนต้น พบว่า หลังได้รับการพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องการป้องกัน
การติดเชื้อเอชไอวีในเด็กวัยรุ่น พบว่า บุตรวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีคะแนนมัธยฐานการรับรู้การ
สื่อสารเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.001)
ความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรคเอดส์ หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย
คะแนนความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value<0.01) เป็นไปตามสมมติฐานการ
วิจัย อธิบายได้ว่าเป็นผลมาจากโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุน
ทางสังคม ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ โดยใช้กระบวนการให้สุขศึกษา โดยใน
กิจกรรม “เป้าหมายสู่ความสําเร็จ” เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการวางแผนเป้าหมายใน
ชีวิต และหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความสําเร็จของชีวิต โดยการอภิปรายกลุ่ม การทํา
พันธะสัญญาใจ เป็นการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรคเอดส์
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Souksamone Thongmixay และรุจิรา ดวงสงค์ (2556) ที่
ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้น
ปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรค
เอดส์สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value<0.01)
โดยสรุปโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม
ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี