Page 62 - JRIHS_VOL1
P. 62

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  57

               อภิปรายผลการวิจัย

                      จากผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ทักษะ
               ชีวิตด้านการตระหนักรู้ในตน ความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

               ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ และความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรค
               เอดส์ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               (P-value<0.01)  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรรมตามโปรแกรมสุข

               ศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม มีขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
               เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ โดยใช้กระบวนให้สุข

               ศึกษาหลากหลายวิธีการ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ/การ
               แสดงบทบาทสมมุติ และการระดมสมอง  ตามกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนกลุ่มทดลองได้มี

               ส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรมตามโปรแกรม สุขศึกษา ทําให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค

               เอดส์และวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง เกิดการเรียนรู้ ตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่น และมีทักษะชีวิต
               ด้านการป้องกันโรคเอดส์มากขึ้น นําไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียน

               สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHO 1994, อ้างถึงใน จุฬาภรณ์

               โสตะ, 2554) ที่ว่าการพัฒนาทักษะชีวิตเป็นการเชื่อมโยงของความรู้ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยม
               ทําให้เกิดพฤติกรรมไปในทางบวก มีพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งนําไปสู่การป้องกันปัญหา

               ด้านสุขภาพได้ และการนําทักษะชีวิตมาประยุกต์ใช้จะทําให้บุคคลรู้จัก เข้าใจตนเอง และเข้าใจ
               ผู้อื่นและมีทักษะในการที่จะจัดการปัญหารอบๆ ตัวในปัจจุบันและเตรียมปรับตัวในอนาคตได้ มี

               การให้แรงสนับสนุนทางสังคมโดยการแจกคู่มือทักษะชีวิตเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ให้คําแนะนําใน

               การศึกษาคู่มือ และเยี่ยมให้กําลังใจ สัปดาห์และ 2 ครั้งๆ ละ 30 นาที ซึ่งเป็นการสนับสนุนทั้ง
               ด้านการให้กําลังใจ ให้คําแนะนํา และให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ทําให้นักเรียนกลุ่ม

               ทดลองเกิดความเชื่อมั่น มีความพร้อมและเต็มใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนการให้สุขศึกษา
               สอดคล้องกับแนวคิดของ Kahn (1979) ที่กล่าวถึงแรงสนับสนุนทางสังคมว่าประกอบด้วยการมี

               ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งรวมไปถึงการแสดงความรู้สึกในทางที่ดีของบุคคลหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง

               การให้ความมั่นใจในการประพฤติปฏิบัติของบุคคลนั้นว่าดีหรือถูกต้อง การให้ความเห็นและการ
               ช่วยเหลือด้านสิ่งของ โดยผู้ให้แรงสนับสนุนทางสังคมต้องให้ในสิ่งที่ผู้รับต้องการหรือรับรู้ถึงสิ่ง

               นั้น ผลลัพธ์ในทางด้านบวกจึงจะเกิดขึ้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ Caplan (1974) ที่ว่า

               ธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลต้องมีการให้การช่วยเหลือ สนับสนุนทั้งด้าน
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67