Page 58 - JRIHS_VOL1
P. 58
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 53
N = ขนาดตัวอย่างที่คํานวณได้จากสูตรการคํานวณขนาด
ตัวอย่าง
n nds = ขนาดตัวอย่างที่ปรับแล้ว
d = สัดส่วนตกสํารวจหรือสูญหายจากการติดตาม
ผู้สูญหายจากการติดตามในการวิจัยครั้งนี้ คํานวณขนาดตัวอย่างได้ 21 คน คาดว่าจะมี
ผู้ตกสํารวจร้อยละ 20 แทนค่า n nds = 21 = 32.81
(1-0.2) 2
ดังนั้น จํานวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ศึกษาที่ต้องใช้กลุ่มละ 33 คน ได้ขนาด
ตัวอย่างกลุ่มละ 33 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Random Sampling) คือการคัดเลือกโรงเรียน การสุ่มโรงเรียนและการสุ่มห้องเรียนได้โรงเรียน
ปทุมพิทยาคม เป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จํานวน 33 คน
วิธีดําเนินการวิจัย
เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) แบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง ก่อน
และหลังการทดลอง โดยมีแบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองและมีกลุ่ม
เปรียบเทียบ (Pre Test-Post Test Static Group Comparison Design) โดยกลุ่มทดลอง
ได้รับโปรแกรมสุขศึกษา เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้มีการเรียนการสอน
ตามปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิต
ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เนื้อหาของโปรแกรม ประกอบด้วย
สัปดาห์ที่ 1-2 การให้แรงสนับสนุนทางสังคมโดยการแจกคู่มือทักษะชีวิตเพื่อ
ป้องกันโรคเอดส์ ให้คําแนะนําในการศึกษาคู่มือ และเยี่ยมให้กําลังใจ สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 30
นาที
สัปดาห์ที่ 3 – 12 ดําเนินการตามโปรแกรมสุขศึกษา โดยใช้กระบวนการให้สุข
ศึกษา ประกอบด้วย การบรรยายประกอบสื่อ การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ/การแสดง
บทบาทสมมุติ และการระดมสมอง ตามกิจกรรมการเรียนรู้ 4 กิจกรรม ดังนี้