Page 28 - JRIHS_VOL1
P. 28

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017    23

                      3.  ตัวเด็กเอง เด็กที่ครอบครัวมีปัญหาขัดแย้งกันเสมอ เด็กที่ต้องแบกรับความเครียด

               จากความคาดหวังของพ่อแม่ มีปัญหาในการสื่อสารกันในครอบครัว หรือเด็กบางกลุ่มอาจมีความ
               เสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กทั่วไป เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์

               ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน มี
               ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ํา (low self-esteem) เป็นต้น จึงหาทางออกด้วยการเล่นเกม

               คอมพิวเตอร์เพื่อชดเชยสิ่งที่ขาดหายไป

                      4. สังคมยุคเสรีภาพสื่อ นอกจากปัจจัยภายในตัวเด็กและครอบครัวแล้ว อีกปัจจัยสําคัญ
               ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนอย่างมากคือ ปัจจัยทางสังคม อันได้แก่

               สถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะทางวิชาการมากกว่าทักษะชีวิต สิ่งแวดล้อมที่มีร้านเกมและ
               อินเทอร์เน็ตรอบสถาบันการศึกษาจํานวนมาก และไม่ได้มาตรฐาน และระบบสังคมไทยใน

               ปัจจุบัน รัฐบาลขาดการบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบอย่างจริงจัง หรือผู้ให้บริการยังหลีกเลี่ยงการ

               ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่เข้มงวดกับระยะเวลาในการเปิด-ปิดร้าน และไม่จํากัดอายุเด็ก ส่งผลให้
               เด็กเข้าถึงเกมได้ง่ายและติดเกมในที่สุด



               เด็กติดเกมออนไลน์กับปัญหาภาวะสุขภาพ
                      รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ประธานคณะทํางานวิชาการเฉพาะประเด็น “การ

               จัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง: กรณีเด็กกับไอที” กล่าวว่า สภาวะเด็กไทยติดเกม
               และอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยจนถึงขั้นวิกฤต มีนักเรียนติดเกมรุนแรงร้อย

               ละ 10-15 ใช้เวลาเล่นเกมและอินเทอร์เน็ตหลายชั่วโมงต่อวัน ทําให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ


               ร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ ครอบครัวและสังคม(อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2558) ซึ่งการติด
               เกม จะทําให้เกิดผลกระทบ ดังนี้

                      1. ผลกระทบทางด้านร่างกาย เด็กที่เล่นเกมเป็นเวลานานมากกกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไปและ
               เล่นนานติดต่อกัน 15 สัปดาห์ขึ้นไป ทําให้ขาดการออกกําลังกาย จะส่งผลให้มีอาการทางกายที่

               ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดตาบ่อยๆ (อรรคพล ศิวนาท, 2554) ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหลัง

               ปวดท้อง เจ็บหน้าอก และ อ่อนเพลีย เป็นต้น อาการเหล่านี้จะหายไปภายหลังจากหยุดเล่นเกม
               แล้ว บางคนอาจปวดข้อจากการอักเสบ ไปจนถึงอาการนิ้วล็อค  เป็นต้น (หมอชาวบ้าน, 2553)

               การเล่นเกมเป็นเวลานานทําให้หัวใจ เต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น (Anderson,

               Gentile& Buckley, 2007) หรือเด็กที่นั่งเล่นเกมเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเกิดการอุดกั้นของ
               หลอดเลือดดํา และหากเล่นนานติดต่อกันมากกว่า 80 ชั่วโมง อาจเสียชีวิตจากการอุดกั้นของ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33