Page 27 - JRIHS_VOL1
P. 27
22 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
นั้นไม่ต้องมีกิจวัตรประจําวันที่น่าเบื่อ เช่นการกิน การนอน ผู้เล่นจึงสามารถผจญภัยได้เต็มที่ใน
โลกแห่งความฝัน นอกจากนี้ ผู้เล่น ยังต้องการบังคับตัวละครที่เก่งและน่าตื่นเต้น ซึ่งเขาจะไม่มี
โอกาสได้เป็นตัวละครเช่นนี้ในชีวิตจริง
4. วิธีเล่น ผู้เล่นคาดหวังว่าจะรู้วิธีผ่านด่าน หรือรู้สิ่งที่จําเป็นสําหรับการเล่น ได้จากการ
เล่นขณะอยู่ในเกมดังกล่าวเอง
ซึ่งเด็กติดเกม มีระยะแห่งการบ่มฟัก ดังนี้
1. ระยะเริ่มติด เด็กจะใช้เวลากับการเล่นเกมมากกว่าการประกอบกิจกรรม
อื่นๆ สัมพันธภาพกับพ่อแม่ยังดี
2. ระยะปัญหาปานกลาง เด็กจะเริ่มมีปัญหาขาดความสัมพันธ์กับครอบครัว ใช้
เงินและเวลาส่วนใหญ่กับการเล่นเกม
3. ระยะปัญหารุนแรง เด็กจะติดและหมกมุ่นกับเกมคล้ายติดยาเสพติด
รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา นอนดึกหรือไม่นอน ไม่เรียนหนังสือ ขาดสัมพันธภาพกับคนใน
ครอบครัว
ปัจจัยที่ทําให้เด็กติดเกม (สถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น, 2556)
เด็กติดเกมอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งตัวเด็กเอง พ่อแม่ผู้ปกครอง และ
เทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีความทันสมัยและเข้าถึงได้ง่าย ดังนี้
1. การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น จากสํารวจการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2556 ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่า ช่วง
ระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2552-2556 พบว่าประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้คอมพิวเตอร์ในสัดส่วน
ที่เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 29.3 (จํานวน 17.9 ล้านคน) เป็นร้อยละ 35.0 (จํานวน 22.2 ล้านคน)
โดยเฉพาะการเล่นเกมออนไลน์ เพราะเกมสามารถตอบสนองด้านจิตใจของเด็ก เล่นแล้ว
สนุกสนาน พึงพอใจในความสําเร็จ แต่เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถควบคุมตัวเองในการเล่นเกมได้
และใช้เวลาในการเล่นมากกว่าที่ตั้งใจไว้ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้เกิดปัญหาของการติดเกมตามมา
2. การไม่รู้เท่าทันสื่อของผู้ปกครอง พ่อแม่ ผู้ปกครองยุคใหม่ล้วนแล้วแต่มีภาระงานที่
ต้องรับผิดชอบ หลายครอบครัวไม่มีเวลาให้กับบุตรหลาน หลายครอบครัวใช้เกมและ
อินเทอร์เน็ตเป็นเสมือน พี่เลี้ยงดูแลลูกแทนตน จนลืมว่าอินเทอร์เน็ตเป็นโลกกว้างที่เด็กสามารถ
เรียนรู้หรือค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างไม่มีข้อจํากัด ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่เหมาะสมปะปนกันไป
ไม่ได้เตรียมความพร้อมของเด็กในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม