Page 24 - JRIHS_VOL1
P. 24

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017    19

                      5. เกมต่อสู้ (Fighting Game) เป็นเกมต่อสู้กันโดยมีตัวละครต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว

               ด้วยเทคนิคการต่อสู้เฉพาะตัว ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ Mortal Kombat, Boxing
                      6. เกมวางแผน (Strategy Games) เป็นเกมที่ใช้ความคิด นํากลยุทธ์มาใช้เพื่อ

               เอาชนะ เกมมีเรื่องราวเป็นนิทาน หรือตํานาน มีตัวละครนํา และการผูกเรื่องเข้ากับการต่อสู้และ
               วางแผนในเกม ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ checkers, Age of Mythology

                      7. เกมปริศนา (Puzzle Game) เกมแก้ปัญหาให้ลุล่วงตามจุดประสงค์หลักของเกม

               เช่น Tetris (เกมตัวต่อ นั่นเอง)
                      8. เกมกีฬาและการแข่งขัน (Sport & Racing Games) วัตถุประสงค์ของเกมเพื่อ

               การเป็นที่หนึ่งของการแข่งขัน เช่น แข่งรถ แข่งฟุตบอล เช่น FIFA Soccer
                      9. เกมการศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ความรู้และความเพลิดเพลิน  ส่งเสริมในเรื่อง

               ของทางด้านการศึกษา โดยอาจนําเนื้อหาที่มีตามบทเรียนนํามาสร้างเป็นเกมหรืออาจจะนํา

               เนื้อหาสาระต่างๆที่นอกเหนือจากตําราเรียนนํามาประยุกต์ใช้ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงกระตุ้นใน
               การเรียนรู้ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาหลายๆด้าน ทั้งการเรียน สังคม ฯลฯ



               พฤติกรรมของเด็กติดเกมออนไลน์
                      เด็กหมายถึง ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ เป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้าน

               ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง ถ้าเด็กได้รับ
               สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกๆ ด้าน ก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ

               ประสบการณ์ใหม่ หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น และจะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็น

               วัยที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน แล้วจึงค่อยเป็น
               ประสบการณ์ไปหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ไกลตัวออกไป โดยมีสื่อทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วย

               หรือก่อให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพการ์ตูน สื่อ
               มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการของเด็กในด้านอารมณ์ ภาษาและสติปัญญา ดังนั้นหากเด็ก

               เลือกรับสื่อที่ดีมีประโยชน์ก็จะทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการที่ดี และสามารถพัฒนา

               ศักยภาพของตนเองได้เหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันหากเด็กรับสื่อที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีผู้ใหญ่
               คัดกรองในการเสพสื่อของเด็ก ก็อาจทําให้เด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือหมกมุ่นในการเสพ

               สื่อมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อเด็กเอง โดยเฉพาะการหมกมุ่นในการเล่นเกมมากเกินไป จาก

               การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
               พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาติดเกมคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 52.7 โดยเด็กที่มีการคล้อย
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29