Page 32 - JRIHS_VOL1
P. 32
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 27
เด็กติดเกมไปแล้ว โดยทั่วไปแนะนําว่าควรกําหนดให้เด็กสามารถเล่นเกมได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อ
วันในวันธรรมดา ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวันในวันหยุด และเล่นเกมอย่างต่อเนื่องได้ไม่เกิน1 ชั่งโมง
ต่อครั้ง
3. ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ การสอนให้เด็กรู้จักการแบ่งและใช้เวลาอย่างเหมาะสม
ฝึกให้เด็กมีวินัยในการใช้เงิน ร่วมกับการฝึกหรือมอบหมายงานบ้านให้เด็กรับผิดชอบ จะเป็นการ
ฝึกให้เด็กมีวินัย รู้จักควบคุมตัวเอง ถ้าเริ่มฝึกตั้งแต่เด็กยังเล็กๆจะยิ่งมีโอกาสประสบความสําเร็จ
4. ลดโอกาสในการเข้าถึงเกมของเด็ก ข้อมูลจากการวิจัยพบว่า บ้านใดที่มีอุปกรณ์ที่
เล่นเกมได้มากชิ้นเท่าไหร่ เด็กยิ่งมีโอกาสติดเกมมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นพ่อแม่ควรพยายามจํากัด
ให้มีจํานวนอุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกมได้ให้น้อยชิ้นที่สุด พ่อแม่ควรวางคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกม
ไว้ในบริเวณบ้านที่เป็นที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปมาบ่อยๆ เพื่อช่วยให้พ่อแม่ได้เห็นเนื้อหาและ
พฤติกรรมของเด็กขณะเล่นเกม เพื่อให้คําแนะนําและกําหนดขอบเขตในการเล่นเกมที่เหมาะสม
กับเด็กได้ นอกจากนี้พ่อแม่ควรติดตั้งโปรแกรมที่ควบคุมเวลา และเนื้อหาในการเล่นเกมของเด็ก
ไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือใส่รหัสผ่าน โดยเด็กจะมีโอกาสได้เล่นเกมเฉพาะเวลาที่พ่อแม่อยู่บ้านและ
รับผิดชอบทําการบ้านจนเสร็จแล้วเท่านั้น
5. สม่ําเสมอ คงเส้นคงวา ในการวางกติกา พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว
ควรมีรูปแบบการเลี้ยงดูที่เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เด็กเชื่อฟังและไม่เกิดความสับสนในการ
ปฏิบัติตามมีความชัดเจน คงเส้นคงวา และเอาจริงเอาจังกับกฎกติกาในบ้าน
6. ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) เด็กส่วนหนึ่งติดเกม
เนื่องจากขาดความภาคภูมิใจในตนเอง จึงหาทางออกโดยการเล่นเกมให้เก่งเพื่อให้ได้การยอมรับ
จากผู้อื่น ดังนั้นพ่อแม่ควรหมั่นชมเด็กในสิ่งที่เด็กถนัด และทําได้ดีด้านอื่นๆ เด็กบางคนอาจจะ
เรียนได้ไม่ดี แต่อาจมีความถนัดทางด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ หาโอกาสพัฒนาทักษะเหล่านั้นของ
เด็กเพื่อให้เขามีความภาคภูมิใจในตนเองอย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งจะเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันในการติด
เกมของเด็กได้ นอกจากนี้พ่อแม่ควรชมเด็กเมื่อเด็กทําตามกติกา รักษาเวลา รู้หน้าที่ รู้จักความ
รับผิดชอบ เลิกเล่นเกมเมื่อครบกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน
7. ฝึกให้เด็กมีวิธีจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ เหตุผลหนึ่งที่เด็กมักใช้
เป็นข้ออ้างในการเล่นเกม คือ “เล่นเกมแก้เครียด” เด็กที่ใช้แต่การเล่นเกมเป็นเทคนิคเพียงอย่าง
เดียวเพื่อคลายเครียด มักจะมีโอกาสติดเกมสูงกว่าเด็กที่มีวิธีจัดการกับความเครียดหลากหลาย
ดังนั้นพ่อแม่ควรฝึกให้เด็กมีงานอดิเรกทําหลายๆอย่าง ร่วมกับสอนให้เด็กมีวิธีจัดการกับ
ความเครียดอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ