Page 30 - JRIHS_VOL1
P. 30

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017    25

               การป้องกันปัญหาภาวะสุขภาพในเด็กที่ติดเกมออนไลน์

                      เนื่องจากเด็กวัยเรียน เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง แต่ยังมีวุฒิภาวะที่จะ
               ตัดสินใจยังไม่ดีพอ ดังนั้นเมื่อเด็กจะต้องเล่นเกมออนไลน์ ผู้ปกครองควรให้การดูแลเอาใจใส่เด็ก

               อย่างใกล้ชิด อย่างเหมาะสม ให้มีความสมดุลของร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจน
               มีวุฒิภาวะที่เหมาะสม สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ให้ดํารงชีวิตในสังคมได้อย่างมี

               ความสุข ดังนี้

                      1. ด้านร่างกาย พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลกํากับให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มี
               ประโยชน์และเพียงพอ  ให้เด็กได้รับประทานอาหารเป็นเวลาพร้อมครอบครัว เพราะการที่เด็ก

               ได้รับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวบ่อยครั้งและโดยเฉพาะมื้อเย็น จะมีการรับประทาน

               อาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น(Gillman et al., 2000) ควรให้เด็กได้รับประทานอาหารก่อนเล่น
               เกม และกําหนดเวลาในการเล่นเกมในแต่ละวันไม่ควรเล่นเกมเกิน 1 ชั่วโมง ในระหว่างการเล่น

               ต้องมีการพักทุกๆ 20 นาที ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย เหยียดนิ้วกางมือให้เต็มที่ เวลานั่งต้องนั่งตัว
               ตรง มีพนักพิงหลัง ไม่นั่งหลังค่อม ไม่ก้มคอก้มหัว วางเท้าแตะพื้นแบบสบายทั้ง 2 ข้าง ไม่จิก

               ปลายเท้า ไม่เกร็งเท้า ดูแลการจัดท่าการเล่นเกมของเด็ก การจับเกมและบังคับปุ่มกด ต้องให้

               ข้อมืออยู่ในท่าเหยียดตรง ไม่งอข้อมือ เพื่อป้องกันอาการนิ้วล็อค(หมอชาวบ้าน, 2553) ชักชวน

               เด็กออกกําลังกายกลางแจ้ง หรือทํางานบ้านร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัว

                      2.  ด้านอารมณ์ พ่อแม่ควรให้ความรัก ความอบอุ่นและเวลาที่มีคุณภาพกับเด็ก ควร
               จัดสรรเวลาในการทํากิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เล่นกับเด็ก หรือสนับสนุนกิจกรรมที่เด็กสนใจ

               นอกเหนือจากการเล่นเกม เพื่อช่วยให้เด็กไม่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมเพียงอย่างเดียว การทํา

               หน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน (พรพิมล ศรีสุวรรณ,

               2553) เพราะการทํากิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจใน

               ตนเอง (self-esteem) เด็กส่วนหนึ่งติดเกมเนื่องจากขาดความภาคภูมิใจในตนเอง จึงหาทางออก
               โดยการเล่นเกมให้เก่ง เพื่อให้ได้การยอมรับจากผู้อื่น ดังนั้นพ่อแม่ควรหมั่นชมเด็กในสิ่งที่เด็ก

               ถนัด และทําได้ดีด้านอื่นๆ เด็กบางคนอาจจะเรียนได้ไม่ดี แต่อาจมีความถนัดทางด้านกีฬา ดนตรี

               ศิลปะ หาโอกาสพัฒนาทักษะเหล่านั้นของเด็กเพื่อให้เขามีความภาคภูมิใจในตนเองอย่างเต็ม
               เปี่ยม ซึ่งจะเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันในการติดเกมของเด็กได้ สนับสนุนให้เด็กมีงานอดิเรกที่

               สร้างสรรค์และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เด็กที่ติดเกมจํานวนมากเริ่มเล่นเกมเพราะ

               เด็กมีความรู้สึกเหงาและไม่รู้จะทําอะไรในเวลาว่าง การมีกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ที่ก่อให้เกิด
               ความสุขแบบสร้างสรรค์ จะช่วยให้เด็กไม่เหงาและไม่มีเวลาว่างเกินไปได้ การห้ามไม่ให้เล่นเกม
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35