Page 33 - JRIHS_VOL1
P. 33

28  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

                      8.  สร้างเครือข่ายพ่อแม่ พ่อแม่ควรหาโอกาสทําความรู้จักกับเพื่อนของเด็ก ไปจนถึง

            คนในครอบครัวของเพื่อนเด็กด้วย เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปกครองในการพาเด็กทํากิจกรรมยามว่าง
            ร่วมกัน เช่น การเล่นกีฬา การทํากิจกรรมสันทนาการ การทํากิจกรรมอาสาเพื่อสังคม เป็นต้น

                    สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรปฏิบัติ ได้แก่
                     1.  ละเลยการทํากิจกรรมร่วมกันในครอบครัว หลายครอบครัวที่มีเด็กติดเกม พบว่า

            มักจะเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ เด็ก อยู่กันคนละทิศละทาง ต่างคนต่างอยู่ แต่ละคนง่วนอยู่กับสิ่งที่

            ตัวเองสนใจ ไม่ค่อยได้มีการทํากิจกรรมสนุกสนานด้วยกัน ดังนั้นพ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กมี
            กิจกรรมทํายามว่าง เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่แพ้การเล่นเกม หรือมากกว่า

            การเล่นเกม ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เด็กชอบ และสามารถร่วมกันทํากิจกรรมนั้นๆ ได้ทั้งครอบครัว
            เพื่อเป็นการสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่ เด็ก

                     2. ไม่ตั้งกติกาก่อนซื้ออุปกรณ์เล่นเกมให้ การที่ผู้ปกครองซื้ออุปกรณ์เล่นเกมให้เด็กโดย

            ไม่ได้มีการตั้งกติกาการเล่นเอาไว้ก่อนล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทําเป็นอย่างยิ่ง
                     3.  ใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองที่งานยุ่งอาจจะคิดว่าการให้เด็กอยู่

            บ้านเล่นเกม หรือไปอยู่ร้านเกมน่าจะปลอดภัย ตัวเองจะได้มีเวลาส่วนตัวเพื่อไปทําอย่างอื่น

            ความคิดนี้อันตรายเป็นอย่างยิ่ง หลายครอบครัวกว่าที่พ่อแม่จะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว เด็กติดเกม
            งอมแงมหลายต่อหลายคนก็เพราะมีพ่อแม่ที่คิดง่ายๆแบบนี้แหละ พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เกม

            มาเป็นเสมือน “พ่อแม่ทดแทน” เพื่อให้เด็กไม่มาวุ่นวายกับตน
                     4. ดีแต่บ่น แต่ไม่เคยเอาจริง สิ่งที่พ่อแม่มักจะทําเสมอแต่เป็นวิธีที่ไม่เคยได้ผล คือ การ

            ดีแต่บ่น เช่น “เล่นนานไปแล้ว” “เลิกได้แล้วนะ” “เมื่อไหร่จะเลิกซักที” การพูดบ่อยๆ นอกจาก

            จะไม่ค่อยได้ผลแล้ว ยังทําให้เด็กเกิดความรู้สึกว่า “บ่นอีกแล้ว...รําคาญ” ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ จะทํา
            ให้เด็กไม่อยากคุยและไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ เพราะคิดว่าจะต้องโดนดุ การพูดน้อยแต่ทําจริง

            ตามกติกาที่ตกลงกันไว้เป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าเสมอ
                     5.  ใจอ่อน ธรรมชาติของเด็กมักจะชอบต่อรองกับพ่อแม่เสมอเมื่อหมดเวลาเล่น โดย

            มักจะพูดว่า “แป๊บนึง...ขออีก 10 นาทีน่า จะจบเกมแล้ว” ไปๆ มาๆ 10 นาทีที่ว่าก็อาจลากยาว

            เป็นครึ่งชั่วโมง หรือหลายชั่วโมง ซึ่งพอต่อรองได้ครั้งหนึ่งก็มักจะมีครั้งต่อๆ ไป เพราะเด็กเค้ารู้ว่า
            พ่อแม่ไม่เอาจริง การใจอ่อนอย่างนี้ไม่ได้มีผลเสียกับเรื่องเล่นเกมเท่านั้น แต่จะมีผลต่อกฎเกณฑ์

            ทุกอย่างในบ้าน ถ้าเด็กรู้ว่าพ่อแม่มักใจอ่อน ก็เป็นการยากที่เด็กจะทําตามกฎกติกาที่วางไว้

            เพราะเด็กจะเกิดความคิดว่าเดี๋ยวมาต่อรองเอาทีหลังก็ได้ ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการรักษาระเบียบ
            วินัยในตัวเองของเด็กในระยะยาว
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38