Page 111 - JRIHS_VOL1
P. 111
106 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
ผลการศึกษา
ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ หาความต้องการจําเป็น (Need Assessment)
และความพร้อมในการออกข้อบัญญัติ พบว่า ยังไม่มีบุคลากรที่มารับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข
โดยตรงซึ่งปลัด อบต. เป็นผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุข ส่วนปัญหาสําคัญในพื้นที่ พบว่าโรค
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสําคัญอันดับแรก รองลงมา คือโรคไม่ติดต่อ สาเหตุหลักที่ทําให้โรคยัง
ระบาดอยู่ คือขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทําให้มีพาหะ
นําโรค ซึ่งวิธีการหรือการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาสําคัญของท้องถิ่น พบว่า ใช้ข้อมูล จปฐ.
รวมทั้งมีการประสานขอข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต) เพื่อนํามา
วิเคราะห์ในการจัดทําแผน ส่วนเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา ใช้การทําประชาคมรับฟังปัญหา
จากชาวบ้านหรือผู้นําชุมชน ซึ่งในการจัดทําแผนของ อบต. จะใช้ข้อมูล 2 ส่วน ทั้งข้อมูลปฐมภูมิ
(Primary Data) จากการทําประชาคม และจากการสํารวจจริงในพื้นที่ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ
(Secondary Data) จะใช้ข้อมูลจากระบบรายงาน เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน
(กชช. 2 ค) รวมทั้งใช้ข้อมูลด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล การนําข้อมูลมา
วิเคราะห์สภาพปัญหาส่วนใหญ่ใช้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต)
ความพร้อมในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า
ความพร้อมด้านความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและโรคไข้เลือดออกอยู่ใน
ระดับมาก ( X̅ = 3.42) รองลงมาได้แก่ ความพร้อมในด้านทัศนคติการนํากฎหมายไปใช้อยู่ใน
ระดับมาก (X̅ =3.37) และความพร้อมด้านการยอมรับของประชาชนในชุมชน (X̅ =3.68)
ระยะที่ 2 มีกระบวนการพัฒนาบุคลากรและสนับสนุนการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการ
กําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการอบรมพัฒนาทักษะการ
บริหารงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคไข้เลือดออก การดําเนินการสนับสนุนการออกข้อบัญญัติ และ
ประกาศใช้ในพื้นที่ และได้มีการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้จากการดําเนินงานป้องกัน
ควบคุมโรคไข้เลือดออก ทําให้ได้รูปแบบการใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกําจัดพาหะนําโรค
ไข้เลือดออก ดังนี้