Page 110 - JRIHS_VOL1
P. 110

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  105

                      ระยะที่ 3 (ปีที่ 3) การประเมินผลรูปแบบการดําเนินงาน และถอดบทเรียนการ

               ดําเนินงาน
                      ประชากร คือ ประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป จากตําบลแดงหม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัด

               อุบลราชธานี จํานวน 2,563 คน
                      กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยการใช้สูตรการคํานวณของเครซี่และมอร์

               แกน เมื่อทราบประชากรที่แน่นอน ดังนี้

                              n  =       N
                                     1  +  Ne 2

                                  =        2,563   =  345.88
                                                   2
                                          1+(2,563 x0.05 )
                              n  = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

                            N  = จํานวนประชากร
                              e  = ค่าความคาดเคลื่อน (0.05)

                      จะได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 346 คน และเพื่อกันการสูญหายของตัวอย่างระหว่างการ

               เก็บข้อมูล จึงเพิ่มจํานวนตัวอย่างเป็น 350 คน
                      การประเมินผลรูปแบบการดําเนินงาน ในด้านผลลัพธ์ของโครงการแก้ไขปัญหาโรค

               ไข้เลือดออก และถอดบทเรียนการดําเนินงานเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ ให้ได้รูปแบบการใช้
               ข้อบัญญัติในการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้

                      ขั้นตอนที่ 1 ประเมินผลรูปแบบโดย ประเมินจากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดําเนินการใน

               ด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก และค่าดัชนีลูกน้ํายุงลาย ค่า
               H.I, C.I.

                      ขั้นตอนที่ 2 ถอดบทเรียนการดําเนินงานเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ให้ได้รูปแบบการใช้
               ข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้ว

               นําเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ข้อเสนอแนะ แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไข ตามคําแนะนํา

                      วิธีการเก็บข้อมูล : ใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการสํารวจ
                      การวิเคราะห์ข้อมูล : ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

               ส่วนข้อมูลเชิง ปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive-analysis)

                      ส่วนในการเผยแพร่งานวิจัยได้รับการบอกกล่าวและการอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ร่วม
               วิจัยทุกคน
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115