Page 115 - JRIHS_VOL1
P. 115
110 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
5. เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหะสถาน ต้องดูแลทําความสะอาดและ
เปลี่ยนน้ําในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ําขัง อย่างน้อยทุก 7 วัน หรือใส่
สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ําที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน
6. ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทําการกําจัดยุงในอาคาร หรือ
เคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้อง
ให้ความร่วมมือและอํานายความสะดวกตามสมควร
ขั้นตอนที่ 3 หลังข้อบัญญัติท้องถิ่น (การบังคับใช้, การประเมินผล) เป็นขั้นตอนหลัง
ดําเนินการประกาศใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยมีการประชุมคณะกรรมการดําเนินงาน และการ
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายโดยผู้นําชุมชน และการติดประกาศตามศาลาประชาคม เพื่อให้
ประชาชนรับทราบข้อบัญญัติท้องถิ่น หลังจากนั้นมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เนื่องจาก
นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย และเป็นประธาน
คณะกรรมการดําเนินงานโดยมีบทบาทหน้าที่ ด้านการอํานวยการ ปลัดองค์การบริหารส่วน
ตําบลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดําเนินงาน และเป็นผู้มี
อํานาจในการเปรียบเทียบปรับตามบทบัญญัติในข้อบัญญัติท้องถิ่น นายกมีอํานาจในการออก
คําสั่งให้เจ้าของบ้านที่พบลูกน้ํายุงลายดําเนินการกําจัดลูกน้ํายุงลายในบริเวณบ้านของตน โดยมี
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) รับผิดชอบการตรวจประเมินลูกน้ํายุงลายในหมู่บ้าน โดยการ
ประเมินไขว้ของ อสม.ต่างหมู่บ้าน และผู้นําชุมชนมีหน้าที่ในการแจ้งผลการประเมินการสํารวจ
ลูกน้ํายุงลายและการแจ้งเจ้าของบ้านเพื่อจัดการสภาพแวดล้อมในบ้านเรือนไม่ให้มีแหล่ง
เพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย และผู้อํานวยการ รพ.สต. เป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีหน้าที่ให้
คําแนะนํา และตรวจตรา ควบคุม กํากับการปฏิบัติงานของ อสม. โดยในการดําเนินงานจะมีการ
สรุปผลการตรวจประเมินทุกเดือนผ่านเวทีการประชุมของคณะกรรมการ และมีการมอบรางวัล
ครัวเรือนสะอาด ปลอดลูกน้ํายุงลายทุกปี
โดยในการดําเนินการออกข้อบัญญัติเพื่อใช้ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย
พาหะนําโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จะทําควบคู่ไปกับโครงการประกวดหมู่บ้านสะอาด
ประชาราษฎร์พอเพียง โครงการครอบครัวจัดการสุขภาพ และโครงการการคัดแยก รวมทั้ง
นวัตกรรมการควบคุมพาหะนําโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย ผ้าสี่สี การปล่อยปลาบู่, ปลาหมอ
สวิงช้อนลูกยุง แพรเขียวปิดฝาภาชนะ แปรงขัดไข่ อิฐมอญเผา และสมุนไพรไล่ยุง (มะกรูด,
ตะไคร้หอม) เป็นต้น