Page 114 - JRIHS_VOL1
P. 114

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  109

                      การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

                      ขั้นตอนที่ 1 ก่อนออกข้อบัญญัติ มีการประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการยกร่างข้อบัญญัติ
               การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อค้นหาปัญหาของท้องถิ่น เรียงลําดับความสําคัญของปัญหา

               คัดเลือกปัญหาที่อยู่ในข่ายการควบคุมตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ
               จัดลําดับความสําคัญของปัญหาที่จะดําเนินการยกร่างข้อกําหนดของท้องถิ่น และการประชุม

               ระดมความคิดเห็นในการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการเพื่อกําหนดในข้อบัญญัติของ

               ท้องถิ่น เพื่อกําหนดประเด็นในการออกข้อบัญญัติและการอ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่
               เกี่ยวข้องประกอบการออกข้อบัญญัติ

                      ขั้นตอนที่ 2 การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ประกอบด้วย การยกร่างข้อบัญญัติของท้องถิ่น โดย
               คณะกรรมการดําเนินงานและนิติกร เพื่อกําหนดประเด็นของข้อบัญญัติที่จะใช้ในชุมชน แล้ว

               ดําเนินการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อขอความเห็นชอบ

               และรับฟังความคิดเห็น ในขั้นตอนการทําประชาพิจารณ์ หลังจากนั้นดําเนินการปรับปรุงร่าง
               ข้อบัญญัติของท้องถิ่นตามคําแนะนําของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย  จากนั้นเตรียมเสนอร่าง

               ข้อบัญญัติของท้องถิ่นต่อสภาท้องถิ่นเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อข้อบัญญัติ ผ่านความเห็นชอบใน 3

               วาระ (รับหลักการ, แปรญัตติ และให้ความเห็นชอบ) และการเสนอร่างข้อบัญญัติของท้องถิ่นให้
               ผู้บริหารท้องถิ่นลงนาม และเสนอนายอําเภอให้ความเห็นชอบ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

               และประกาศใช้ในพื้นที่ต่อไป
                      โดยรายละเอียด ในข้อบัญญัติท้องถิ่น มีประเด็นสําคัญ ดังนี้

                          1. ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทําให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอย รวมทั้งกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือ

               มูลฝอยอื่นๆ ที่อาจขังน้ําได้ ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การ
               บริหารส่วนตําบลแดงหม้อ จัดไว้ให้

                          2. เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถาน ต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูล
               ฝอย รวมทั้งกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่นๆที่อาจขังน้ําได้ในอาคารหรือเคหสถาน

               รวมทั้งบริเวณรอบๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิด หรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปาก

               ถุง หรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนํา
                          3. ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ ให้บริการเก็บขนมูลฝอย เพื่อนําไป

               กําจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอยตามที่กําหนด

                          4.  เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ ที่มีแหล่งน้ําที่อาจเป็น
               แหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย จะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119