Page 107 - JRIHS_VOL1
P. 107
102 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
ตระหนักในการกําจัดลูกน้ํายุงลาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค โดยการกําจัดแหล่ง
เพาะพันธุ์ยุงลายแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานของรัฐรวมทั้งองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น สามารถตรากฎหมายขึ้นมาใช้และมีผลในการบังคับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนใน
ชุมชน (นิรมล เมืองโสม, 2549)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดประชาชนในชุมชนมากที่สุด
มีบทบาทการดําเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีบทบาทในการส่งเสริม
ประสานงาน และสร้างความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการป้องกันควบคุมโรค มี
การจัดทําแผนงาน/โครงการในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก การอบรมให้ความรู้ ทักษะ ใน
การดําเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เช่น การฉีดพ่นหมอกควัน การออกปฏิบัติงาน
ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันควบคุมโรค
ไข้เลือดออก รวมถึงการกําจัดลูกน้ํายุงลายและปรับสภาพแวดล้อม โดยประสานงานกับ
หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตําบล และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สํานักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข, 2553)
สําหรับบทบัญญัติของกฎหมายที่สามารถปรับใช้ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่มีการ
นํามาใช้ในปัจจุบัน เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติสภาตําบล
และองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ.2537 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การ
กําหนดให้แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลายเป็นเหตุรําคาญ ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง
ได้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยเฉพาะข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตําบล เพื่อกําจัดแหล่ง
เพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย โดยอาศัยพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 5 เหตุรําคาญ
แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นปัญหาต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และการบังคับใช้
กฎหมายดังกล่าวยังไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควร (สํานักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรม
ควบคุมโรค, 2544)
ด้วยเหตุผลและความจําเป็นดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบการใช้
ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย ขององค์การบริหารส่วนตําบลแดง
หม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์
แนวทาง มาตรการการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต
และเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการถ่ายโอนภารกิจการป้องกันควบคุมโรคสู่ท้องถิ่น
เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการป้องกันและควบคุมอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ดียิ่งขึ้น