Page 106 - JRIHS_VOL1
P. 106
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 101
บทนํา
โรคไข้เลือดออก พบมีการระบาดทั่วประเทศ ซึ่งประชาชนทุกคนมีโอกาสหรือความเสี่ยง
ที่จะเป็นโรคนี้ได้ โดยมีการแพร่กระจายและส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาคของประเทศ ในประเทศ
ไทยเริ่มพบโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และมีการระบาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2501 ในเขต
กรุงเทพฯ-ธนบุรี ซึ่งมีรายงานผู้ป่วย กว่า 2,706 ราย และเสียชีวิต 296 ราย คิดเป็นอัตราป่วย
เท่ากับ 10.6 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 10.9 ต่อมาในปี พ.ศ. 2506-
2507 โรคได้แพร่กระจายไปยังเขตปริมณฑลและในแถบชานเมือง ปี พ.ศ. 2510 ส่งผลให้มีการ
แพร่กระจายของโรคในทุกพื้นที่ของจังหวัดต่างๆจนถึงปัจจุบัน (กองกีฏวิทยาทางการแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2533) จากข้อมูลรายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก โดยใช้การ
วิเคราะห์อนุกรมเวลา จังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัด
อุบลราชธานี ปี 2556 (นครพนม, สกลนคร, มุกดาหาร, อํานาจเจริญ, ยโสธร, อุบลราชธานี และ
ศรีสะเกษ) ในช่วงปีพ.ศ. 2551 - 2555 พบอัตราป่วยเท่ากับ 57.9, 66.0, 128.3, 56.2, และ 53.4
ต่อแสนประชากร ตามลําดับ (กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง, 2556)
การแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจาก
การติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเดินทางท่องเที่ยว การศึกษา หรือ
การเดินทางเพื่อประกอบอาชีพ แม้แต่การอพยพลี้ภัยจากสงคราม หรือการที่ประเทศมีระบบ
บริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ล้วนแต่เป็นสาเหตุหลักที่ทําให้เกิดการระบาดของโรคได้มากและ
รุนแรงขึ้น (ประเวศ วะสี, 2539) นอกจากนี้การใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตาม
แนวทางที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันโดยการใช้มาตรการควบคุมลูกน้ํายุงลายและการกําจัดยุงลายตัว
เต็มวัย ทั้งทางด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพ ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากชุมชนให้ความ
ร่วมมือไม่เต็มที่ ขาดการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ และขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติพฤติกรรม
เพื่อป้องกันโรค (กระทรวงสาธารณสุข, 2548) ประชาชนมากกว่าครึ่งยังคิดว่าการเฝ้าระวัง
ป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น ประชาชนบางส่วนยังขาด
ความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักต่อโรคไข้เลือดออก ซึ่งมาตรการป้องกันควบคุมโรค
ไข้เลือดออกจะได้ผลดีนั้น จะต้องใช้หลักการควบคุมโรคแบบบูรณาการโดยนําวิธีการที่หลากหลาย
มาปรับใช้ร่วมกัน (อุทัย ดุลยเกษม, 2540) การใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นทางเลือกหนึ่งที่
น่าสนใจ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้กฎหมายทางสาธารณสุขให้ความเห็นว่า สมควรนํากฎหมายมาใช้เป็น
เครื่องมือหนึ่งในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และสร้าง