Page 113 - JRIHS_VOL1
P. 113

108  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

                    ในการดําเนินการใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย

            พาหะนําโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความตระหนักถึงสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก
            และความรุนแรงของโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้นําชุมชน อสม.เด็กและเยาวชน

            ในพื้นที่ ประกอบกับ นโยบายของผู้บริหารระดับอําเภอ ได้แก่ นายอําเภอ และสาธารณสุข
            อําเภอ เห็นความสําคัญของปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ระบาดในพื้นที่ จึงได้มีการสั่ง

            การ ดําเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน อย่างเร่งด่วน

            การถ่ายทอดนโยบายสู่พื้นที่ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมการ
            ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน

            ท้องถิ่นร่วมกับผู้นําชุมชน อสม. และ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแดงหม้อ และ
            โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบุตร จึงร่วมกันวางแผนการดําเนินงานเพื่อควบคุมการระบาด

            ของโรคไข้เลือดออก โดยการวิเคราะห์ปัญหา และผลกระทบจากการระบาดของโรค พบว่า

            สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2550-2554) มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
            อย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยผู้ป่วยได้รับความทุกข์

            ทรมานจากการเจ็บป่วย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะครอบครัวเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล

            รักษาผู้ป่วย รวมทั้งค่าใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐในการให้การรักษาและควบคุมการระบาดของ
            โรคเพิ่มขึ้น ประกอบกับนโยบายของผู้บริหารระดับอําเภอ และผู้บริหารองค์การบริหารส่วน

            ตําบล ที่เน้นลดการใช้สารเคมีในการควบคุมการระบาดโรค โดยส่งเสริม กระตุ้นการมีส่วนร่วม
            ของประชาชนในชุมชน

                    จากเหตุผลดังกล่าว คณะผู้บริหารท้องถิ่นร่วมกับผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และแกน

            นําชุมชน ได้ร่วมประชุมเพื่อกําหนดแนวทางในการดําเนินงานเพื่อควบคุมการระบาดของโรค
            ไข้เลือดออก  ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ (นายก/ปลัด) รพ.สต.และ แกน

            นําชุมชน ซึ่งผ่านการอบรมกระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรค
            ไข้เลือดออก การออกและใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลายพาหะ

            นําโรคไข้เลือดออก ได้ดําเนินการจัดตั้งคณะกรรมการดําเนินงานขึ้น ประกอบด้วย นายกองค์การ

            บริหารส่วนตําบล เป็นประธาน ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล เป็นรองประธาน และ
            คณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้นําชุมชน อสม. สมาชิก อบต. นิติกร และแกนนําชุมชน โดยมี

            ผู้อํานวยการ รพ.สต. เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยดําเนินการจัดทําแผน

            การออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล เพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย และ
            กิจกรรมอื่นๆที่สนับสนุนการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก และปัญหาสุขภาพอื่นๆ
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118