Page 108 - JRIHS_VOL1
P. 108
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 103
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออกของ
องค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
2. เพื่อประเมิน ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของประชาชน และสํารวจค่าดัชนีลูกน้ํา
ยุงลายภายหลังการพัฒนารูปแบบการใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก
ขององค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึงปี พ.ศ. 2556 การดําเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 (ปีที่ 1) เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหา สํารวจสมรรถนะบุคลากร
และความต้องการจําเป็น (Need Assessment) ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
การใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก เก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพ
ประชากรศึกษา ได้แก่ บุคลากรในระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข
และงานด้านแผนงานขององค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ ผู้นําชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแดงหม้อ และประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหาร
ส่วนตําบลแดงหม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขและ
งานด้านแผนงานขององค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ ผู้นําชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตําบลแดงหม้อ และประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตําบล
แดงหม้อ จํานวนทั้งหมด 35 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นโดยการสัมภาษณ์ ร่วมกับ
การสนทนากลุ่ม (Focus groups) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา
(Descriptive Analysis) ได้แก่ ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การ
วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ระยะที่ 2 (ปีที่ 2) กระบวนการพัฒนาและสนับสนุนการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการ
กําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก
ประชากร ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี