Page 18 - JRISS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 18
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.4 October-December 2018 13
4) การเพิ่มหลักสูตรนานาชาติ ดวยการสอนเปนภาษาอังกฤษ ในปจจุบัน ระดับ
ปริญญาโทและเอกที่สอนเปนภาษาอังกฤษมี 43 หลักสูตรดวยกัน
5) สถาบันการศึกษาตาง ๆ ไดพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนใหมีความ
นาสนใจมากยิ่งขึ้น มีการเปดหลักสูตรที่หลากหลายและเปดกวางมากขึ้น เพื่อสนองตอความ
ตองการที่แตกตางกันของนักศึกษา
6) การปรับระบบการสอบเขาแบบใหมเพื่อเอื้ออํานวยสําหรับนักศึกษาตางชาติ
มากขึ้น
7) การสนับสนุนโครงการศึกษาตอเนื่อง สําหรับนักศึกษาตางชาติที่สําเร็จ
การศึกษาจากญี่ปุนแลว เชนโครงการวิจัยระยะสั้นสําหรับนักเรียนเกาญี่ปุน, การแนะแนวและ
สนับสนุนใหนักศึกษาดําเนินการศึกษาตอเนื่องในระดับสูงขึ้น
สําหรับประเทศไทย เรืองศักดิ์ แกวธรรมชัย (2556) ไดสรุปจากการสัมภาษณ
ผูบริหารมหาวิทยาลัยไทยชี้วา นักศึกษาไทยสวนใหญออนดอยดานภาษา ซึ่งญี่ปุนก็มีจุดออน
ดานนี้เหมือนกัน แตผูบริหารสถานศึกษาของญี่ปุนมองวา ตองการใหนักศึกษาพูดไดก็พอ ที่
เขาเนนคือภาษาวัฒนธรรม คือ นักศึกษาควรรูพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ ซึ่งจะเปน
หัวขอในการคุยตอยอดได เรียกไดวาถาเขาใจวัฒนธรรมแลวก็สามารถคุยเรื่องธุรกิจตอไดเลย
แนวทางการนําระบบการศึกษาญี่ปุนมาปรับใชในระบบการศึกษาของไทย
( The Approach of application Japanese education system to the Thai
education system)
แมระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุนจะถูกยกใหอยูในระดับตนๆ แลวก็ตามแตเห็นได
ชัดวาชาติที่พัฒนาแลวยังไมหยุดหรือย้ําอยูกับที่ โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานสําคัญอยางการศึกษา
และการพัฒนาบุคคลกรของชาติ ที่ถือเปนกําลังหลัก มองเห็นจุดดอยของตัวเองและพยายาม
ปรับปรุงเพื่อใหคงไวซึ่งมาตรฐาน ในระบบการเรียนการสอนทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุน
ควรมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผูเรียน ซึ่งควรจะสอดคลองกับยุคสมัยในปจจุบันดวย โดยที่ใน
ระดับมหาวิทยาลัยควรจะสงเสริมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งจําเปนและนําสมควรนํามา
ปฏิบัติจริงสามารถนํามาตอยอดและตอบสนองตอความตองการของตลาด มากกวาการเนน
การเรียนการสอนเนื้อหาที่ยากๆ ตองทองจําเยอะ แตไมสามารถนําไปใชหรือปฏิบัติไดเลย
โดยเฉพาะดานการทําวิจัย ควรเนนงานวิจัยที่สามารถนําไปปฏิบัติไดจริง มากกวาวิจัยเชิง
เนื้อหา ควรคํานึงถึงเรื่องที่วา ตอนนี้สังคมไทยขาดอะไรและตองการอะไร
ปานเพชร ชินินทร และคณะ (2552) ไดเสนอแนวคิดและปรัชญาแบบสหกิจศึกษา
โดยมหาวิทยาลัยตองเปนชุมชนแหงการเรียนรูดวยตนเอง อยูบนหลักการของการเรียนรูจาก
รากฐานการทํางาน (Work base learning) กระตุนการเรียนรูที่ยึดตนเองเปนหลัก (self-
directed learning) ที่สะทอนใหเห็นการปฏิบัติจริง การเรียนรูจากรูปแบบ problem base