Page 15 - JRISS-vol.2-no3-รวมเลม_Neat
P. 15

10  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.3 July-September 2018

                     นักวิชาการและผูบริหารบางกลุมแยกการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงไวเปน
             อีกขั้นตอนหนึ่ง (CLUSIF, 2009) และประเด็นที่องคการควรไดสื่อสารใหสมาชิกในองคการ

             และผูเกี่ยวของไดตระหนักและเขาใจวาความเสี่ยงพื้นฐานธรรมดาทั่วไปเปนสิ่งเกิดขึ้นเสมอใน
             การบริหารองคการ และความเสี่ยงที่องคการมีกิจกรรมหรือโครงการแกไขอยูนั้น ขอใหทุกคน
             ในองคการใจเย็น ๆ และใหระยะเวลาในการดําเนินงานระยะหนึ่งกอนจึงจะเห็นผล ที่สําคัญ
             คือความเสี่ยงบางเรื่องอาจจะเปนสิ่งที่แกไขไมได และไมมีทางหลีกเลี่ยงได องคการและ
             ผูเกี่ยวของทุกคนและทุกฝาย ควรใชความอดทนตอความเสี่ยงที่ไมมีทางออก และหลีกเลี่ยง

             ไมได ซึ่งผูเขียนเห็นดวยวาการสื่อสารเกี่ยวกับความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเปนสิ่งที่
             สําคัญ แตควรดําเนินการในทุกขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยง


             การประเมินผลการจัดการความเสี่ยง
                     การประเมินผลการจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment Evaluation) ควร
             ดําเนินการทั้งกอนการเริ่มตนการดําเนินการตามแผนการจัดการความเสี่ยงเพื่อตรวจสอบ
             ปจจัยปอนเขาที่อาจจะเปนปญหาที่กอใหเกิดความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมา และประเมินผลการ

             ดําเนินงานระหวางการปฏิบัติการตามกิจกรรมและโครงการบริหารความเสี่ยง เพื่อใหทราบวา
             การดําเนินงานเปนไปตามแผนมากนอยเพียงใด ไดผลตามที่คาดไวตามแผนหรือไม มีความ
             เสี่ยงใหมเกิดขึ้นระหวางการดําเนินงานหรือไม อยางไร  ซึ่งอาจจะเรียกขั้นตอนนี้วา การกํากับ
             และทบทวนการจัดการความเสี่ยง (Risk Monitoring and Reviewing) (Government of

             South Australia, 2002) อยางไรก็ตามในทัศนะของผูเขียนเห็นวา ทายที่สุดแลวก็ควรมีการ
             ประเมินผลลัพธที่เกิดขึ้นหลังการสิ้นสุดกิจกรรมหรือโครงการจัดการความเสี่ยงวาเปนอยางไร
             เพื่อเปนขอมูลในการวางแผนการดําเนินงาน และการจัดการความเสี่ยงในรอบตอไป


             สรุปและความเห็นทายเรื่อง
                     ดวยความจริงที่วาความเสี่ยงเปนสิ่งที่เกิดขึ้นไดตลอดเวลาในการดําเนินงาน เพียงแต
             ระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจจะมากหรือนอยตางกันเทานั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยูกับวาองคการนั้น ๆ
             ตองการที่จะเสี่ยงในการดําเนินกิจการของตนมากนอยเพียงใด และขณะเดียวกันองคการมี

             องคความรู มีขอมูล และศักยภาพในการจัดการความเสี่ยงมากนอยเพียงใด แตไมวาองคการ
             ตองการลงทุนเสี่ยงมากหรือเสี่ยงนอย ผูเขียนเห็นวาเปนความจําเปนที่ฝายบริหารตองมีการ
             จัดการความเสี่ยงโดยการระบุประเด็นความเสี่ยง วางแผนจัดการความเสี่ยงเหลานั้น
             ดําเนินการตามแผนที่วางไว และประเมินผลการดําเนินงานเพื่อแกไข หรือวางแผนใหมในครั้ง

             ตอไป ทายสุดผูเขียนอยากเสนอวา การจัดการความเสี่ยงนั้นเปนความจําเปนทั้งสําหรับ
             องคการของรัฐและเอกชน องคการที่เปนหนวยงานบริการ และหนวยงานทางธุรกิจ จริงอยู
             บางทานอาจจะมองวาหนวยงานของรัฐนั้นมีรัฐเปนประกันจึงไมนามีความเสี่ยงใด ๆ ซึ่ง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20