Page 11 - JRISS-vol.2-no3-รวมเลม_Neat
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.3 July-September 2018

                     6. การกํากับและทบทวนความเสี่ยง (Risk monitoring and review)
                     และถาขอบเขตของความเสี่ยงยังไมเปลี่ยนแปลง การจัดการความเสี่ยงอาจจะ

             ดําเนินงานแบบวงจรตอเนื่องในขั้นตอนที่ 4-6 จนกวาจะมีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของความ
             เสี่ยง
                     กลุมแผนงานของรัฐบาลออสเตรเลียตอนใต (Government of South Australia,
             2002) อธิบายการจัดการความเสี่ยงวาเปนเรื่องที่ไมยาก แตตองใชความสามารถในการระบุ
             และจัดกระทํากับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการดําเนินงาน เปนกระบวนการเชิงระบบใน

             การนํานโยบายไปสูการปฏิบัติ การวิเคราะหและกําหนดประเด็นความเสี่ยง ประเมินความ
             เสี่ยง จัดกระทําเกี่ยวกับความเสี่ยง และการกํากับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และกลุมงานดังกลาว
             เสนอกระบวนการในการจัดการความเสี่ยงไวดังนี้

                     1. กําหนดขอบเขตบริบทของความเสี่ยง (Establish the Context)
                     2. ระบุความเสี่ยง (Identify Risks)
                     3. วิเคราะหและประเมินผลลัพธของความเสี่ยง (Analyze and Evaluate Risks)
                     4. พัฒนายุทธศาสตรในการจัดกระทํากับความเสี่ยง (Develop Risk Treatment

             Strategies)
                     5. กํากับและทบทวนความเสี่ยง (Monitor and Review)
                     จากแนวคิดและกระบวนการในการจัดการกับความเสี่ยงที่นําเสนอไปขางตน พอสรุป
             ไดวา การจัดการความเสี่ยงหมายถึง กระบวนการในการคาดการณความเสี่ยงที่อาจจะเกิด

             ขึ้นกับองคการโดยรวมหรือการดําเนินงานตามแผนงานโครงการตาง ๆ ขององคการ มีแผน
             และวิธีการดําเนินงานเพื่อปองกัน หรือลด และขจัดความเสี่ยงดังกลาว มีการดําเนินการตาม
             แผนและวิธีการที่กําหนดไว และมีการประเมินผลการดําเนินงานตามแผนการจัดการความ
             เสี่ยงดังกลาวเพื่อการดําเนินงานขององคการเปนไปตามวัตถุประสงคที่กําหนดไว และ

             กระบวนการจัดการความเสี่ยงมี 4 ขั้นตอน ซึ่งอาจจะดําเนินการตามลําดับ หรือยอนกลับกัน
             ไปมาระหวางขั้นตอนเหลานั้นตามความเหมาะสมและเงื่อนไขที่เกิดขึ้นระหวางการดําเนินงาน
             ขององคการ และขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนประกอบดวย
                     1. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)

                     2. การจัดทําแผนจัดการความเสี่ยง (Risk Management Plan Formulation)
                     3. การดําเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment Plan
             Implementation)
                     4. การประเมินผลการจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment Evaluation)

                     ซึ่งมีสาระและแนวปฏิบัติดังนี้
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16