Page 14 - JRISS-vol.2-no3-รวมเลม_Neat
P. 14

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.3 July-September 2018   9

                การดําเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยง
                        การดําเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยง  (Risk  Treatment Plan

                Implementation) เปนขั้นตอนในการนําแผนไปสูการปฏิบัติ กํากับการดําเนินงานตามแผน
                ประเมินประสิทธิผลระหวางการดําเนินการเพื่อยืนยันวิธีการจัดการความเสี่ยง หรือปรับแก
                วิธีการ เพื่อใหสอดคลองกับขอมูลใหม หรือ ผลลัพธที่เกิดขึ้นระหวางการจัดการความเสี่ยง
                ขององคการ Berg (2010) เสนอวาระหวางการดําเนินการตามแผน องคการตองตรวจสอบวา
                ความเสี่ยงสําคัญยังเปนไปตามที่คาดการณไวหรือไม การจัดการตามแผนที่วางไว ไดผลมาก

                นอยเพียงใด ยุทธศาสตรในการจัดการความเสี่ยงไดมีประสิทธิผลแคไหน ถาหากไมมี
                ประสิทธิผล จะแกไขอยางไร และที่สําคัญคือมีความเสี่ยงใหมเกิดขึ้นหรือไม
                        CLUSIF (2009) เสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงไวสามแบบ คือ จัดการความ

                เสี่ยงโดยตรง (Direct Reducing Risk Situations) จัดการความเสี่ยงทางออม (Indirect
                Reducing Risk Situations) และการถายโอนความเสี่ยง (Transfer Risks) การลดความเสี่ยง
                โดยตรงอาจจะดําเนินการโดยใชฐานความรูที่มีอยู โดยพิจารณาวาวิธีการจัดการความเสี่ยงที่
                เลือกใชเกิดผลในทางที่ดีหรือไม และทางเลือกที่ดําเนินการอยู สนับสนุนการตัดสินใจในการ

                วางแผนจัดการความเสี่ยงมากนอยเพียงใด หรือไมก็ลดความเสี่ยงโดยใชกิจกรรม หรือ
                โครงการ หรือกระบวนการดําเนินงานอยางใดอยางหนึ่ง
                        การจัดการความเสี่ยงทางออมอาจจะดําเนินการไดในสองลักษณะใหญ ๆ คือ การ
                ปรับเปลี่ยนประเด็นหรือสิ่งที่ออนไหวหรือเสี่ยงตอการเขาใจคลาดเคลื่อนใหชัดเจนในเชิง

                วัตถุประสงคและนโยบาย กําหนดแนวปฏิบัติที่เปนรูปธรรมและจัดทําเปนคูมือในการ
                ดําเนินงานตอไป หรือวิเคราะหประเด็นที่ออนไหวหรือเสี่ยงตอการเขาใจคลาดเคลื่อน เพื่อ
                กําหนดเปนนโยบาย เปนแนวในการตัดสินการดําเนินการตอไป
                        การถายโอนความเสี่ยง หมายถึงการทําขอตกลงในความเขาใจรวมกันระหวาง

                องคการและผูมีสวนเกี่ยวของในการรับผิดชอบรวมกันกับความเสี่ยงที่องคการจะเผชิญในการ
                ดําเนินงานขององคการ ซึ่งก็จะทําใหองคการลดภาระความเสี่ยงใหนอยลงอีกทางหนึ่ง
                        Morden (2007) กลาววาปญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหวางการนําแผนไปปฏิบัติคือ
                ปญหาการรับรู (Perception) ปญหาความคลาดเคลื่อนในกระบวนทัศนหรือแนวคิดในการ

                จัดการความเสี่ยง (Conceptualization) ปญหาการตีความ (Interpretation) และปญหา
                ความเขาใจไมตรงกัน (Derivation of meaning) แมวาจะมีการสื่อสารและทําความเขาใจกัน
                ทั้งกอน และระหวางการดําเนินงานตามแผนก็ตาม ปญหาเหลานี้อาจจะเกิดขึ้นจากความไม
                ชัดเจนในประเด็นความเสี่ยง ความแตกตางของประสบการณของผูเกี่ยวของ หรือความไมใส

                ใจของผูปฏิบัติงานก็ได อยางไรก็ตามหากองคการมีการกํากับติดตาม ประเมินผล และทบทวน
                แผน กิจกรรม และโครงการในการจัดการความเสี่ยงอยูสม่ําเสมอ ก็จะเปนเทคนิคสําคัญใน
                การดําเนินงานตามแผนการจัดการความเสี่ยงขององคการไดอีกทางหนึ่ง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19