Page 11 - JRIHS VOL3 NO1 January - March 2019
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.3 No.1 January-March 2019

             ครรภครั้งแรกชากวาเกณฑ 12 สัปดาหได (Late Antenatal Care) ซึ่งมักจะพบในกลุมของสตรีที่
             ตั้งครรภไมพึงประสงค และการตั้งครรภในวัยรุน โดยระหวางการฝากครรภอาจพบปญหาเชน การไม

             มาฝากครรภตามนัด (loss ANC follow up) น้ําหนักไมขึ้นตามเกณฑขณะตั้งครรภ ทารกในครรภมี
             ภาวะ IUGR และมีการติดเชื้อของโรคติดตอทางเพศสัมพันธขณะตั้งครรภ เปนตน
                     3. ปจจัยเสี่ยงดานสังคมเศรษฐกิจ (Sociodemographic risks) ไดแก การที่สตรีตั้งครรภ
             และครอบครัวมีรายไดต่ํา การขาดการเขาถึงระบบสุขภาพ การตั้งครรภวัยรุน การตั้งครรภอายุมาก
             จํานวนการตั้งครรภ สถานภาพสมรส สภาพแวดลอมในการดูอาศัย และเชื้อชาติศาสนา ที่มีผลตอ

             การดูแลและเขาถึงการบริการสุขภาพขณะตั้งครรภ ที่มีผลกระทลตอสุขภาพของสตรีตั้งครรภและ
             ทารกในครรภทั้งทางตรงและทางออมได
                     4. ปจจัยดานสิ่งแวดลอม (Environment factors) ไดแกการติดเชื้อตางๆขณะตั้งครรภ การ

             ไดรับสารกัมภาพรังสี การไดรับสารพิษตางๆขณะตั้งครรภ (Teratogen) รวมถึงการสูบหรือสูดดม
             ควันบุหรี่ ที่อาจสงผลใหทารกในครรภ เชน การแทง ทารกตายในครรภ ทารกพิการแตกําเนิด คลอด
             กอนกําหนด ทารกในครรภมีพัฒนาการลาชา และทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวนอย เปนตน

             เกณฑการประเมินความเสี่ยงสูงขณะตั้งครรภ

                     การใชเกณฑประเมินการตั้งครรภที่มีความเสี่ยงสูงนั้นมีหลายมีหลายรูปแบบการ
             ประเมินความเสี่ยงซึ่งขึ้นอยูกับการใชเกณฑของการประเมินและคัดกรองปจจัยเสี่ยงตางๆเปน
             หลักในการพิจารณา สําหรับประเทศไทย ปจจุบันกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2560) ได

             กําหนดแบบประเมินความเสี่ยงของสตรีตั้งครรภใชซักประวัติ สตรีตั้งครรภในการมาฝากครรภ
             ครั้งแรก โดยประเมินความเสี่ยงจากประวัติการตั้งครรภและการคลอดในอดีต ประวัติการ
             ตั้งครรภปจจุบัน และประวัติทางอายุรกรรม ดังรายละเอียดตอไปนี้
                     ประวัติการตั้งครรภและการคลอดในอดีต ไดแก ประวัติวาสตรีตั้งครรภเคยมีทารกตาย

             ในครรภหรือเสียชีวิตแรกเกิด (1 เดือนแรก) เคยแทง 3 ครั้ง ติดตอกันหรือมากกวาติดตอกัน เคย
             คลอดบุตรน้ําหนักนอยกวา 2,500 กรัม หรือคลอดเมื่ออายุครรภนอยกวา37 สัปดาห  เคยคลอด
             บุตรน้ําหนักมากกวา4,000 กรัม เคยเขารับการรักษาพยาบาลความดันโลหิตสูงระหวางตั้งครรภ
             หรือครรภเปนพิษ และเคยผาตัดอวัยวะในระบบสืบพันธุ เชน เนื้องอกมดลูก ผาตัดปากมดลูก

             ผูกปากมดลูก ฯลฯ หรือไม
                     ประวัติการตั้งครรภปจจุบัน ไดแก การตั้งครรภแฝด สตรีตั้งครรภมีอายุนอยกวา 17 ป
             หรืออายุมากกวา 35 ป (นับถึง EDC) มีหมูเลือด Rh Negative มีเลือดออกทางชองคลอด มีกอน
             ในอุงเชิงกราน คาความดันโลหิต Diastolic ≥ 90 mmHg และดัชนีมวลกายนอยกวา 18.5 กก./ตรม.

             หรือไม  ประวัติทางอายุรกรรม ไดแก ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ การใชยา
             และสารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล การสูบบุหรี่ และ/หรือคนใกลชิดสูบบุหรี่ และโรคอายุรก
             รรมอื่นๆ เชน ไทรอยด SLE เปนตน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16