Page 11 - JRIHS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.4 October-December 2018

             เลือกกิจกรรมดวยตนเอง รวมทั้งการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจากขาว
             เหนียวในวิถีถิ่นเปนขาวขาว การใชเมนูอาหารพื้นบานพะเยาแทนเมนูอาหารไทยจานดวน (ขาวผัด

             ขาวขาหมู ขาวมันไก) ตลอดจนการเสริมแรงใหครอบครัวรับรูวา การปรุงอาหารของคนใน
             ครอบครัวมีอิทธิพลสําคัญตอการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผูปวย การเนนย้ําการ
             บริโภคที่ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา ภายใตวิถีวัฒนธรรม (ชณิตา ประดิษฐสถาพร, 2559) แสดง
             ใหเห็นวาพยาบาลดําเนินการภายใตบทบาทพยาบาลในฐานะผูใหความรู (Health Educator
             Role) ซึ่งจําเปนตองทําในลักษณะเนนผูปวยเปนศูนยกลาง (patient care center) ทําใหระดับ

             น้ําตาลในเลือด (FBS) และระดับน้ําตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ของผูปวยคงที่นานกวา 8 เดือน
                     2. ระดับระบบบริการสุขภาพ และความเชื่อมโยงชุมชน เปนปฏิสัมพันธระหวางองคกร
             บริการสุขภาพ และองคประกอบของชุมชน แบงเปนการบริหารจัดการภายในองคกรสุขภาพ และ

             การเสริมการมีสวนรวมของชุมชน พบวาการพัฒนาระบบบริการเบาหวานสูระบบบริการปฐมภูมิ
             ในเครือคายบริการสุขภาพของอําเภอปว จังหวัดนาน ซึ่งผูปวยอยูในพื้นที่หางไกล ยากตอการ
             เขาถึงบริการ เครือขายบริการสุขภาพจัดใหมีแพทยประจําโรงพยาบาลเปนพี่เลี้ยงใหแกพยาบาล
             เวชปฏิบัติชุมชน ทําใหเกิดการพัฒนาระบบบริการที่ดีผานการวางระบบชวยเหลือ ใหคําปรึกษา

             ผานโปรแกรม Skype และการโทรศัพท ผลลัพธทําใหเกิดความมั่นใจแกพยาบาลเวชปฏิบัติ
             ชุมชนในการดูแลผูปวยเบาหวาน กอใหเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหวางแพทย พยาบาล และ
             บุคลากรอื่นในโรงพยาบาล เกิดความมั่นใจในการใชบัญชียาหลักของผูปวย และครอบครัว
             ตลอดจนเกิดความพึงพอใจของผูปวย และญาติ (กอบกุล ยศณรงค, 2555)

                     การพัฒนาระบบงานบริการสงมอบยา และใหคําแนะนําการใชยา อําเภอวังเจา จังหวัด
             ตาก ภายใตพยาบาลวิชาชีพระดับปฐมภูมิและทีมสนับสนุน เชน เภสัชกร อสม. ผูนําชุมชน ดวย
             การพัฒนาระบบงานแบบมีสวนรวม โดยปรับแนวปฏิบัติของผูใหยา เพิ่มระยะเวลาในการให
             คําแนะนําการใชยากับผูปวยแตละราย การปรับวัดนัดรับยาตามความตองการของผูปวย สงผล

             ใหลดปญหาระบบ และเปลี่ยนกระบวนทัศนในการใหยา รวมทั้งทําใหผูปวยเบาหวานใชยาได
             ถูกตองเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ผูใหบริการสุขภาพรวมทั้งพยาบาลวิชาชีพ ยังเห็นวาการจัดการ
             ระบบบริการสุขภาพ การประสานงานกับชุมชน และการบูรณาการองคประกอบการดูแลผูปวย
             โรคไมติดตอเรื้อรังมีผลตอการดูแลโรคเรื้อรัง ในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของ

             ภาคเหนือ (สุทธีพร มูลศาสตร, ชมนาด พจนามาตรและนิชธาวัลย ถาวร, 2560) จึงเห็นไดวา
             บทบาทพยาบาลในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในฐานะผูใหบริการสุขภาพ (Health Care
             Provider Role) เปนสิ่งจําเปน แตบทบาทในฐานะผูประสานงาน (Co-coordinator Role) โดย
             ยึดผูปวยเปนสูงกลาง เปนสมรรถนะที่จําเปนอยางยิ่ง

                     3. ระดับปจจัยแวดลอมดานนโยบาย (Positive policy environment) ทั้งการเสริมสราง
             ความเขมแข็งของเครือขาย การสนับสนุนงบประมาณอยางตอเนื่อง การพัฒนากําลังคนและการ
             จัดหาผูนํา การขับเคลื่อน พบวานโยบายชุมชนลดเบาหวาน กติกาชุมชนลดหวาน มัน เค็มในงาน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16