Page 16 - JRIHS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 16

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.4 October-December 2018   11

                รายงานของสํานักระบาดวิทยา ที่พบวาผูปวยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนเปนผูปวยรายใหม มี
                จํานวน 393,887 ราย คิดเปนอุบัติการณ 602.03 ตอประชากรแสนคน กลุมอายุที่มีพบมากที่สุด

                คือ กลุมอายุมากกวาหรือเทากับ 60 ป อัตราปวยเทากับ 1,726.43 ตอประชากรแสนคน โดย
                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไดรับรายงานสูงสุด มีอัตราปวยเทากับ 697.22 ตอประชากรแสนคน
                (อมรา ทองหงษ, 2558) สําหรับสถานการณโรคเบาหวาน ของจังหวัดอุบลราชธานี ในปพ.ศ.
                2558-2560 ยังคงมีอัตราความชุกตอแสนประชากรเพิ่มขึ้น โดยอัตราความชุกโรคเบาหวานตอ
                แสนประชากร เทากับ 4,814.29 4,649.17 และ 4,771.21 ตามลําดับ (สํานักงานสาธารณสุข

                จังหวัดอุบลราชธานี, 2561) นอกจากนี้ยังพบวาจังหวัดอุบลราชธานี มีอัตราการเสียชีวิตดวย
                โรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จากป 2559 มีอัตราการเสียชีวิตดวยโรคเบาหวาน 28.06 เปน 28.14 ตอ
                ประชากรแสนคน ในป 2560 (สํานักโรคไมติดตอ, 2561) สําหรับตําบลหนองกินเพล อําเภอ

                วารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบวา มีจํานวนผูปวยเบาหวานในป 2562 จํานวน 169 คน
                โดยมีแนวโนมจํานวนผูปวยรายใหมเพิ่มขึ้น คือ ในป 2560 จํานวนผูปวยเบาหวานรายใหม
                เทากับ 3 ราย ในป 2561 เพิ่มขึ้นเปน 5 ราย (โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลหนองกินเพล,
                2562) กระทรวงสาธารณสุขไดเล็งเห็น ถึงความสําคัญดังกลาวจึงระบุใหเบาหวานเปนหนึ่งในโรค
                ที่กระทรวงใหความสําคัญในแงของการปองกันและรักษา ตามแผนยุทธศาสตรชาติ ระยะ 20 ป

                        โรคเบาหวานเปนภาวะที่รางกายมีน้ําตาลในเลือดสูงกวาปกติ เกิดจากการขาดฮอรโมน
                อินซูลิน หรือจากการดื้อตอฤทธิ์ของอินซูลิน ทําใหรางกายไมสามารถนําน้ําตาลไปใชไดตามปกติ
                โรคเบาหวานมีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชากรมีอายุยืนและมีการบริโภคอาหารที่มีไขมัน

                น้ําตาล และพลังงานสูง รวมกับการออกกําลังกายหรือการเคลื่อนไหวรางกายนอย สาเหตุเหลานี้
                เปนสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได โดยการมีสวนรวมของผูปวยเบาหวานเอง ในการควบคุมดูแล
                อาการเจ็บปวยของตนเอง การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของผูปวยเบาหวานจําเปนตองอาศัย
                การควบคุมพฤติกรรมในดานตาง ๆ คือ พฤติกรรมดานการควบคุมอาหาร การออกกําลังกาย

                และการรับประทานยา และตองกระทําอยางสม่ําเสมอและตอเนื่อง (สมาคมโรคเบาหวานแหง
                ประเทศไทยฯ, 2561) สอดคลองกับทฤษฎีการสงเสริมสุขภาพของเพนเดอร (2002) ซึ่งเชื่อวา
                แบบอยางของพฤติกรรมสรางเสริมสุขภาพเปนกลยุทธที่สําคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

                ปจจัยระหวางบุคคลมีผลโดยตรงและโดยออมผานแรงกดดันทางสังคมและกลุม หรือกระตุนการ
                ตั้งเจตจํานงในการปฏิบัติพฤติกรรมสรางเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสรางเสริมสุขภาพเปนตัวบงชี้
                โดยตรงตอผลลัพธทางสุขภาพที่ประสบผลสําเร็จ ดังนั้นหากผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรม
                การดูแลสุขภาพที่เหมาะสมก็จะเกิดผลลัพธสุขภาพที่ดี คือ การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได
                        การควบคุมโรคเบาหวาน มีความสําคัญในการลดหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซอน

                โดย  การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด ใหอยูในเกณฑปกติหรือใกลเคียงปกติมากที่สุด แนว
                ทางการควบคุมน้ําตาลซึ่งกําหนดโดย American Diabetes Association (2017) คือการตรวจ
                ระดับน้ําตาลในเลือดดวยตนเอง (self-measurement of blood glucose; SMBG) และการ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21