Page 64 - JRIHS VOL2 NO3 July-September 2018
P. 64

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.-3 July-September 2018   59

                ขอเสนอแนะ
                        1. ขอเสนอแนะสําหรับการนําผลวิจัยไปใชประโยชน

                        จากการวิจัยครั้งนี้พบตัวแปรที่สําคัญที่มีความสัมพันธตอพฤติกรรมการปองกันโรคขอเขา
                เสื่อมของผูสูงอายุในชุมชนบานทาบอ ตําบลแจระแม อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี คือ
                ความรูเกี่ยวกับโรคขอเขาเสื่อม แรงสนับสนุนทางสังคม ไดแก แรงสนับสนุนจากครอบครัว แรง
                สนับสนุนจากเพื่อน และแรงสนับสนุนจากเจาหนาที่สาธารณสุข ดังนั้น ควรจัดทําเปนรูปแบบ
                ของการดูแลผูสูงอายุโดยใชทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมรวมกับการใหความรูดานการปองกัน

                การเกิดขอเขาเสื่อมซึ่งจะทําใหผูสูงอายุมีความเชื่อใจและไวใจในความรักและความเอาใจใสจาก
                บุคคลรอบขางทั้งบุคคลในครอบครัว เพื่อน รวมถึงเจาหนาที่สาธารณสุข เพื่อสงเสริมใหมี
                พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกตองในการปองกันการเกิดขอเขาเสื่อม

                        2. ขอเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งตอไป
                          2.1 ควรศึกษาพฤติกรรมการปองกันโรคขอเขาเสื่อมในกลุมที่มีบริบทแตกตางกัน ซึ่งจะ
                เปนประโยชนในการวางแผนการดําเนินงานการสรางเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
                อันจะทําใหผูสูงอายุมีสุขภาพดีไมเจ็บปวยดวยโรคที่สามารถปองกันได

                          2.2 สําหรับตัวแปรที่ไมมีความสัมพันธตอพฤติกรรมการปองกันโรคขอเขาเสื่อมของ
                ผูสูงอายุในชุมชนบานทาบอ ตําบลแจระแม อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในการวิจัยครั้งนี้ก็
                ไมไดหมายความวาจะไมมีความสําคัญตอการวิจัยอื่น ๆ ดังนั้นในการวิจัยครั้งตอไปก็ควรนําตัวแปรที่
                ไมมีความสัมพันธในงานวิจัยครั้งนี้ไปใชศึกษาในบริบทที่แตกตางในครั้งตอ ๆ ไปดวย

                          2.3 ควรศึกษารูปแบบการมีสวนรวมของชุมชนหรือการสนับสนุนทางสังคม ใน
                การสงเสริมสุขภาพของผูสูงอายุ โดยจําแนกและใหความสําคัญตามแรงสนับสนุน ดังนี้
                            2.3.1 ครอบครัว ควรจะดูแลกิจวัตรประจําวันของผูสูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงใน
                การเกิดผลเสียตอสุขภาพในดานตาง ๆ ดูแลดานการรับประทานอาหารและการออกกําลังกายที่

                เหมาะสมกับวัยและสรีระของผูสูงอายุ รวมทั้งการไมทอดทิ้งผูสูงอายุใหอยูเพียงลําพัง
                            2.3.2 ชุมชนมีสวนรวมในการดําเนินกิจกรรมเพื่อสงเสริมผูสูงอายุใหมีสุขภาพ
                แข็งแรง ไดแก การออกกําลังกายที่เหมาะสมกับวัยและสรีระของผูสูงอายุ
                            2.3.3 เจาหนาที่สาธารณสุข ใหขอมูลขาวสารดานสุขภาพอยางทั่วถึง ใหบริการ

                ดานสุขภาพอยางเปนธรรม
                          2.4 ควรศึกษาถึงความรูการดูแลสุขภาพผูสูงอายุที่เปนภูมิปญญา วัฒนธรรม
                ประเพณีทองถิ่นที่มีผลตอการดูแลสุขภาพของผูสูงอายุ
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69