Page 51 - JRIHS VOL2 NO2 April-June 2018
P. 51
46 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.2 No.2 April-June 2018
บทนํา
การเกิดอุบัติเหตุในผูสูงอายุมีสาเหตุจากความเสื่อมและการถดถอย อีกทั้งจากโรคภัยไข
เจ็บเปนผลใหการทํางานของอวัยวะตาง ๆ ลดลง ระบบประสาทสัมผัสเสื่อมรวมกับปจจัย
สิ่งแวดลอม เชนแสงสวางไมเพียงพอ พื้นไมเรียบ เปยกลื่น เสื้อผาที่สวมใสรุมราม รองเทาที่ไม
กระชับและผลขางเคียงของยาที่รับประทาน การใหการดูแลรักษาหากไมถูกตองเหมาะสม
ทันทวงที จะทําใหผูสูงอายุที่ไดรับอุบัติเหตุมีอาการรุนแรงขึ้น (วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, 2557) ดังที่
นายแพทยสุทร บวรรัตนเวช ผูอํานวยการใหญศูนยอุบัติเหตุและออรโธปดิกส ในเครือบริษัท
กรุงเทพดุสิตเวชการ จํากัด (มหาชน) หรือ BDMS และผูอํานวยการอาวุโสศูนยกระดูกและขอ
กรุงเทพ กลาววา “ผูสูงอายุเปนวัยหนึ่งที่มีความเสี่ยงตอการเกิดอุบัติเหตุสูง ซึ่งเปนสาเหตุของ
การเสียชีวิตสูงเปนอันดับสองของประเทศ รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน โดย
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุดลวนเกิดขึ้นภายในบานทั้งสิ้น” (กรมสุขภาพจิต, 2560)
การรับรูภาวะสุขภาพของตนเอง (perceived health status) และการยอมรับถึง
สถานการณการเปลี่ยนแปลงจากความเสื่อมของสมรรถภาพในการทํางานของอวัยวะตาง ๆ ใน
รางกาย เปนพื้นฐานที่จะกระตุนใหเกิดการกระทําที่เปนปจจัยสําคัญในการกําหนดพฤติกรรม
สุขภาพของผูสูงอายุ เปนองคประกอบทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมของบุคคล ทําให
บุคคลมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอยางจริงจังเมื่อปฏิบัติแลวทําใหเกิดความสุขและมีภาวะ
สุขภาพที่ดีขึ้นจึงเปนแรงผลักดันทําใหบุคคลรับรูถึงคุณคาของการมีสุขภาพดี (Pender :1996
อางถึงใน มนพัทธ อารัมภวิโรจน, 2557)
แรงสนับสนุนทางสังคมในดานอารมณจิตใจ ดานวัตถุสิ่งของ และดานขอมูลขาวสารที่
ผูสูงอายุไดรับจากบุคคลในครอบครัว ทําใหผูสูงอายุรูสึกวาตนเองมีคุณคา เปนสวนหนึ่งของ
สังคม สงผลใหมีความสามารถเผชิญกับปญหาและสามารถดูแลตนเองในเรื่องสุขภาพไดดียิ่งขึ้น
(Schaefer :1981 อางถึงใน นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ, 2559)
การบริการทางการแพทยและสาธารณสุขเปนการจัดบริการระดับตน โดยมุงเนนให
ประชาชนชวยเหลือตนเองในดานความตองการพื้นฐานของชีวิต ใหประชาชนมีสวนรวมในการ
วางแผนและดําเนินงาน โดยเนนการสงเสริมสุขภาพและปองกันโรค บริการที่กระทรวง
สาธารณสุข ไดจัดใหแกผูสูงอายุ ไดแก การจัดทําบัตรประจําตัวผูสูงอายุเพื่อใชในการ
รักษาพยาบาลโดยไมคิดมูลคา การจัดตั้งคลินิกผูสูงอายุ การจัดตั้งชมรมผูสูงอายุ การบริการ
ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องตน การเยี่ยมเยียนผูสูงอายุที่บาน การจัดใหบริการกับผูสูงอายุทั้งดาน
ความรูขอมูลขาวสารที่เปนประโยชนและวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกตอง เพื่อเปนการกระตุนให
ผูสูงอายุใหความสนใจดูแลตนเองไดดีมากยิ่งขึ้น (ฐิติมา คุมสืบสาย, 2550)
การกาวเขาสูสังคมผูสูงอายุ (Aging Society) หมายถึงสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปขึ้น
ไปที่อยูจริงในพื้นที่ตอประชากรทุกชวงอายุในพื้นที่เดียวกันในอัตราเทากับหรือมากกวารอยละ
10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปขึ้นไปที่อยูจริงในพื้นที่ตอประชากรทุกชวงอายุในพื้นที่