Page 41 - JRIHS VOL1 NO3 October-December 2017
P. 41

36  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

                     ผูวิจัยจึงสนใจศึกษา ผลของโปรแกรมการสงเสริมการใชหลักฐานเชิงประจักษตอความรู
             และการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดการความปวดเฉียบพลันในทารกแรกเกิด ในหอผูปวย

             วิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมุกดาหาร เนื่องจากพยาบาลในหนวยงานดังกลาว ยังไมเคยไดรับความรู
             เกี่ยวกับการจัดการความปวดเฉียบพลันในทารกแรกเกิด และการใชหลักฐานเชิงประจักษมา
             กอน โดยกําหนดโปรแกรมการสงเสริมตามแนวคิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม PRECEDE
             Model ของ กรีน และคณะ (Green et al. as cited in Green & Kreuter, 1991) ซึ่งใน
             การศึกษาครั้งนี้ ใหปจจัยชักนําคือ การอบรมใหความรู และการใหคูมือเกี่ยวกับการจัดการความ

             ปวดเฉียบพลันในทารกแรกเกิด ปจจัยเอื้ออํานวยคือ อุปกรณตาง ๆ ที่ใชในการจัดการความปวด
             ใหแกทารกแรกเกิด ซึ่งเปนทรัพยากรที่โรงพยาบาลใหการสนับสนุนอยางครบถวนและเพียงพอ
             ปจจัยสงเสริม คือการใหขอมูลยอนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดการความปวด

             เฉียบพลันในทารกแรกเกิด และการกระตุนเตือนดวยโปสเตอร เพื่อกอใหเกิดความยั่งยืนในการ
             ปฏิบัติ โดยคาดวาจะกระตุนสงเสริมใหพยาบาลมีความรูเกี่ยวกับการจัดการความปวดเฉียบพลัน
             ในทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น สงผลใหมีการปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดเฉียบพลันใน
             ทารกแรกเกิดไดถูกตองมากยิ่งขึ้น ทําใหทารกแรกเกิดมีความปวดลดลง


             วัตถุประสงค
                     1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรูเกี่ยวกับการจัดการความปวดเฉียบพลันในทารกแรก
             เกิดของพยาบาลกอนและหลังไดรับโปรแกรมการสงเสริมการใชหลักฐานเชิงประจักษ

                     2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความปวดเฉียบพลันในทารก
             แรกเกิดของพยาบาลกอนและหลังไดรับโปรแกรมการสงเสริมการใชหลักฐานเชิงประจักษ
                     3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลตอการดําเนินโปรแกรมการสงเสริมการใช
             หลักฐานเชิงประจักษ


             ประชากรและกลุมตัวอยาง
                     ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ เปนพยาบาลวิชาชีพ 10 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผูปวยวิกฤต
             เด็ก โรงพยาบาลมุกดาหาร

                     กลุมตัวอยางที่ศึกษาในครั้งนี้ เปนพยาบาลวิชาชีพที่ใหการดูแลทารกแรกเกิดโดยตรง
             10 คน เลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จากพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผูปวยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาล
             มุกดาหาร ดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูลในหอผูปวยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมุกดาหาร ระหวาง
             วันที่ 1 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ พ.ศ. 2557
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46