Page 53 - JRIHS_VOL1
P. 53

48  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ปัจจุบันการสอนเรื่องเพศศึกษาในสถานศึกษายังมีข้อจํากัดอยู่มาก เนื่องจากทัศนคติของ

            ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มองว่าการสอนเพศศึกษาอาจเป็นการชี้โพรงให้กระรอก และเห็นว่าเป็น
            การกระตุ้นให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552)

            ดังนั้น จึงทําให้นักเรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้และไม่มีทักษะที่จะป้องกันตนเองจากพฤติกรรม
            เสี่ยงทางเพศและโรคเอดส์

                    แนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHO 1994 อ้างถึงใน จุฬาภรณ์ โส

            ตะ, 2554) เป็นการเชื่อมโยงของความรู้ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยม ทําให้เกิดพฤติกรรมไปใน
            ทางบวก มีพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งนําไปสู่การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพได้ และการนํา

            ทักษะชีวิตมาประยุกต์ใช้จะทําให้บุคคลรู้จัก เข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่นและมีทักษะในการ
            ป้องกันปัญหาและเตรียมปรับตัวในอนาคตได้ ดังผลการศึกษาวิจัยของทรงพล ต่อนี, จุฑามาศ

            เทพชัยศรี และเฉลียว ผลพิกุล (2555) ได้ศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะ

            ชีวิต ที่มีต่อทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียน พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมสุข
            ศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตนักเรียนมีทักษะความตระหนักในตนเอง ทักษะการเห็นคุณค่าใน

            ตนเอง ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และทักษะการสื่อสารและความสัมพันธ์

            ระหว่างบุคคลดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่
            ระดับ .05 ซึ่งจะเห็นว่าทักษะชีวิตช่วยลดโอกาสของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

                    จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยง
            ต่อการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากวัยรุ่นขาดทักษะที่จะจัดการกับสถานการณ์และแรงกดดันจากสิ่ง

            ต่างๆ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่ม

            นักเรียน โดยประยุกต์ทักษะชีวิตในด้านการตระหนักรู้ในตน ความสามารถด้านการคิดและการ
            ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์

            และความตั้งใจที่จะกระทําในการป้องกันโรคเอดส์ ร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมโดยการ
            แจกคู่มือทักษะชีวิตเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ให้คําแนะนําในการศึกษาคู่มือ และเยี่ยมให้กําลังใจ

            เพื่อให้นักเรียนมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมในการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์ ต่อไป
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58