Page 43 - JRIHS_VOL1
P. 43
38 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
สมรส มีโรคประจําตัวเฉลี่ย 1.25 ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความเชื่อในการ
รักษาแพทย์แผนปัจจุบัน
2. ประสบการณ์ความปวด
ประสบการณ์ความปวด แสดงในตารางที่ 2 ระดับความรุนแรงของความปวดเฉลี่ย 3.4
(SD±1.6) ซึ่งเป็นความรุนแรงในระดับเล็กน้อย และผลกระทบของความปวดต่อผู้สูงอายุอยู่ใน
ระดับต่ํา ค่าเฉลี่ย 1.4 (SD±1.4) ผลกระทบที่มากที่สุดคือความสามารถในการเดิน กิจกรรม
โดยทั่วไป และผลกระทบความปวดน้อยที่สุดคือความสัมพันธ์กับผู้อื่น พฤติกรรมการดูแลตนเอง
ในการจัดการกับความปวดของผู้สูงอายุ
3. พฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการความปวดของผู้สูงอายุ
พบว่ากลุ่มตัวอย่างแต่ละรายมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการกับความปวด
มากกว่า 1 วิธี และมีความหลากหลายในการจัดการความปวด ดังแสดงในตารางที่ 3 ส่วนใหญ่
ผู้สูงอายุใช้ยานวด และยากินแผนปัจจุบัน ร่วมกับการใช้ยาสมุนไพร แพทย์เป็นผู้ให้ข้อมูล
เกี่ยวกับการใช้ยาในการจัดการความปวด และผู้ป่วยเรียนรู้ด้วยตนเอง พยาบาลเป็นผู้ให้ข้อมูล
เป็นส่วนน้อย การจัดการโดยไม่ใช้ยา ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุใช้วิธีการนั่งพัก นวด การออกกําลังกาย
และการนั่งสมาธิ
ตารางที่ 1 จํานวนและร้อยละข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง (N= 207)
ข้อมูลทั่วไป จํานวน (คน ) ร้อยละ
อายุ (ปี) เฉลี่ย 69.9 (SD±7.3) ต่ําสุด 60 ปี สูงสุด 91 ปี
เพศ
ชาย 62 30.0
หญิง 145 70.0
ระดับการศึกษา
ต่ํากว่าปริญญาตรี 181 87.4
ปริญญาตรี 23 11.1
สูงกว่าปริญญาตรี 3 1.4
สถานภาพสมรส
โสด 21 10.1
สมรส 144 69.5