Page 41 - JRIHS_VOL1
P. 41

36  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ที่สุดในการบรรเทาความปวด  (Closs, & Bennett, 2009; Ersek, Turner, Cain, & Kemp,

            2004; Ersek, Turner, McCurry, Gibbons, & Kraybill, 2003; Fitzcharles, et al., 2011;
            Haas et al., 2005; Hadjistavropoulos, 2011)

                    จากการทบทวนเอกสาร และงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ผ่านมา
            จากฐานข้อมูลต่างๆ ในไทย พบว่าส่วนใหญ่ศึกษาในผู้สูงอายุที่มีความปวดเรื้อรัง โดย พุทธิพร

            พิธานธนานุกูล และ ปัทมา สุริต (Puttiporn Pitantananukune & Pattama Surit, 2011)

            และการศึกษาในผู้สูงอายุเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเจ็บปวดในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดการ
            ความปวดโดยการใช้ยา การใช้เทคนิคผ่อนคลาย การใช้ดนตรีบําบัด เป็นต้น  พบว่ามีข้อมูลจํากัด

            เกี่ยวกับการศึกษา ประสบการณ์ความปวดและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการความ
            ปวดของผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและการ

            จัดการความปวดของ โอเรม (Orem, 1985) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือได้แนวทางการ

            พยาบาลในการจัดการความปวดของผู้สูงอายุในชุมชน อันก่อให้เกิดคุณภาพบริการพยาบาล
            สูงสุดต่อผู้ป่วยและครอบครัว



            วัตถุประสงค์
                    เพื่อศึกษาประสบการณ์ความปวด และ พฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการกับ

            ความปวดของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี


            วิธีดําเนินการวิจัย

                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ
            โครงการวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของ

            วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ก่อนที่จะดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
                กลุ่มตัวอย่าง

                จํานวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ใช้สูตรของการประมาณค่าเฉลี่ย (อรุณ จริวัฒน์กุล,

            2552)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46