Page 42 - JRIHS_VOL1
P. 42
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 37
ปรับเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อป้องกันการสูญหาย ร้อยละ 10 จํานวนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
ทั้งหมดจํานวน 207 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตเทศบาลอําเภอเมือง จังหวัด
อุบลราชธานี ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์กําหนดเงื่อนไข คือ บุคคลที่มี
อายุ 60 ปี ขึ้นไป และมีประสบการณ์ความปวดใน 1 เดือนที่ผ่านมา การศึกษาค้นคว้าวิจัยเริ่ม
ดําเนินการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555
เครื่องมือการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย ข้อมูล ส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ ระดับ
การศึกษา สถานภาพสมรส
2) แบบสอบถามความปวด Brief Pain Inventory (BPI) ฉบับภาษาไทย
(Chaudakshetrin, 2009) แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ระดับความรุนแรงของความ
ปวด (0 ไม่ปวด 10 ปวดมากที่สุด) และ ส่วนที่ 2 ผลกระทบของความปวด ต่อกิจกรรมโดยทั่วไป
อารมณ์ ความสามารถในการเดิน งานประจําวัน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การนอนหลับ ความสุขใน
ชีวิตประจําวัน (0 ไม่กระทบ 10 กระทบมากที่สุด) ตรวจสอบความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้อง
ภายในของแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคในกลุ่มตัวอย่างนี้ เท่ากับ 0.86
3) แบบสอบถามการดูแลตนเองในการจัดการความปวดของผู้สูงอายุ สร้างขึ้นตาม
กรอบแนวคิดการดูแลตนเอง ทีมผู้วิจัยได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน
แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ แล้วนํามาหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (IOC) มีค่า
ระหว่าง 0.67 -1.0
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการกับความปวด
ของผู้สูงอายุ
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 207 คน แสดงในตารางที่ 1 อายุเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 69.9
ปี (SD ± 7.3) ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เพศหญิง ระดับการศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรี สถานภาพ