Page 46 - JRIHS_VOL1
P. 46
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 41
2004) และการศึกษาความปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุไทย โดย พุทธิพร พิธานธนานุกูล และ ปัทมา สุ
ริต (Puttiporn Pitantananukune & Pattama Surit, 2011) ผู้สูงอายุมีความปวดในหลาย
ตําแหน่งของร่างกาย เข่า และบริเวณหลังเป็นตําแหน่งที่มีความปวดมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ
การศึกษาที่ผ่าน (Norelli & Harju, 2008; Tsai et al., 2011) การเสื่อมของกระดูกข้อเข่า และ
กระดูกสันหลังเป็นผลทําให้ผู้สูงอายุมีความปวดในตําแหน่งมากที่สุด (Gil Gregorio, Moreno,
Rodriguez, & Zarco, 2007; Haas et al., 2005; Kean et al., 2008) และผลกระทบของ
ความปวดดังกล่าวทําให้รบกวนการเดิน และ กิจกรรมโดยทั่วไปของผู้สูงอายุ แม้ว่ามีผลกระทบ
ดังกล่าว แต่พบว่าผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่ในระดับต่ํา ผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วม
กิจกรรมทางสังคม เช่น การเข้าร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเหมือนกับการศึกษาที่ผ่านมา (Tsai et
al., 2011; Tsai et al., 2004)
ผลการศึกษาพบว่าผลกระทบของความปวดต่อกิจกรรมโดยทั่วไป อารมณ์
ความสามารถในการเดิน งานประจําวัน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การนอนหลับ ความสุขใน
ชีวิตประจําวัน อยู่ในระดับที่ต่ํา ทั้งนี้เนื่องจาก ความปวดของผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ํา และเป็น
ระดับความปวดที่ผู้สูงอายุสามารถทนได้ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากเป็นประสิทธิผลการดูแลตนเอง
การจัดการความเจ็บปวดของผู้สูงอายุ ทําให้ความปวดของผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ํา
โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุใช้ยาในการจัดการความปวดในรูปแบบการกิน ใช้ยานวด ซึ่งการ
ใช้ยาบรรเทาความปวดมีประสิทธิผลในการดูแลตนเองในการจัดการความปวด สอดคล้องกับ
การศึกษาของ (Kaye et al., 2011; McCleane, 2007; Puttiporn Pitantananukune &
Pattama Surit, 2011) และข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับยาผู้สูงอายุได้ข้อมูลจากแพทย์ ผลจาก
ข้อมูลดังกล่าวอาจจะเนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นชุมชนเมือง มีความ
สะดวกง่ายในการเข้าถึงแหล่งบริการสาธารณสุขแพทย์แผนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีผู้สูงอายุ
ส่วนหนึ่งซื้อยากินเองเนื่องจากมีความสะดวกในการซื้อยาจากร้านขายยา สิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่ม
ในการศึกษาครั้งต่อไปคือ ประสิทธิผลของการใช้ยา และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วย
ซื้อยากินเองในท้องตลาด และพยาบาลในชุมชนควรให้ความรู้กับผู้สูงอายุเกี่ยวกับยาบรรเทา
ความปวด และการศึกษาเปรียบเทียบปัญหาของผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนชนบท และชุมชนเมือง
มีความแตกต่างในการจัดการความปวดของผู้สูงอายุโดยไม่ใช้ยา อย่างไร ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุ
ในชุมชนชนบทสามารถเข้าถึงแหล่งบริการสาธารณสุขแพทย์แผนปัจจุบันได้น้อย ผู้สูงอายุที่
อาศัยอยู่ในชุมชนชนบทอาจจะมีการจัดการความปวดของผู้สูงอายุโดยไม่ใช้ยา หลากหลาย
มากกว่ากลุ่มที่อยู่ในชุมชนเมือง