Page 40 - JRIHS_VOL1
P. 40

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  35

               ส่งผลต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน และยังพบว่าผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อย

               กว่าและใช้ระยะเวลานานกว่าคนอายุน้อยกว่า (Barkin, Barkin, & Barkin, 2005) นอกจากนี้
               ความปวดเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งความปวดเกิดจาก

               ความผิดปกติของข้อต่ออักเสบและผลลัพธ์ทําให้มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ  สาเหตุความปวดที่พบ
               ในผู้สูงอายุเช่น เจ็บปวดหน้าอก  ปวดหลังส่วนล่าง ปวดคอ ปวดท้อง neuropathic และปวด

               ศีรษะ (Tsai, Liu, & Chung, 2010)

                      การจัดการความปวดในผู้สูงอายุ บุคลากรทางสุขภาพจึงควรให้ความสําคัญ การจัด
               ดังกล่าว ประกอบด้วยการใช้ยา และไม่ใช้ยา เช่น การนวด  การกดจุด การออกกําลังกาย

               (Helme, 2001)  ในผู้สูงอายุการดูแลจะต้องใส่ใจในรายละเอียดเพิ่มขึ้น  บุคลากรทางสุขภาพ
               ต้องมีการวางแผนเฉพาะในการจัดการความปวดและต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกายใน

               วัยผู้สูงอายุซึ่งมีผลต่อการใช้ยา (Kaye, Baluch, & Scott, 2011) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุอาจมีการ

               เปลี่ยนแปลงทางสังคม จิตใจ และการรับรู้ แตกต่างกับผู้ที่อายุน้อยกว่าทั้งด้านทัศนคติ การ
               แสดงออกของความปวด (Tirapo, 2008) และความทนต่อความปวดในผู้สูงอายุแต่ละรายมี

               ความแตกต่างกัน (Norelli & Harju, 2008)

                      การใช้ยาร่วมกับการไม่ใช้ยาเพื่อบรรเทาความปวดนับว่ามีความสําคัญในการจัดการ
               ความปวด อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการบรรเทาความปวดด้วยยาในผู้สูงอายุ เนื่องจาก

               ค่าใช้จ่ายยาที่มีราคาสูง อาการข้างเคียงของยา และการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Kaye et al.,
               2011; Tsai et al., 2010)  นอกจากนี้ยังพบว่าอุปสรรคอื่นในการจัดการความปวดในผู้สูงอายุ

               เช่น ผู้ป่วยไม่รู้การจัดการกับความปวดที่ถูกวิธี และอุปสรรคด้านระบบสุขภาพ เช่น ความเชื่อ

               เกี่ยวกับการใช้ยาระงับความปวดชนิดสารเสพติด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมและไม่
               ถูกต้องในการรักษาของผู้สูงอายุ เป็นต้น (McCleane, 2007)

                      แม้ว่าการจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ได้ผลคือการใช้ยา แต่การใช้ยาไม่สามารถที่จะ
               บรรเทาความเจ็บปวดได้เสมอไป และอาจทําให้เกิดฤทธิ์ข้างเคียง หากมีการจัดการความปวดไม่

               เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ทําให้อารมณ์

               เปลี่ยนแปลงโดยผู้ป่วยจะมีความกลัว โกรธ ไม่พึงพอใจ ทุกข์ทรมาน นอนไม่หลับนํามาซึ่งความ
               ไม่สุขสบาย ส่งผลให้ความสามารถของร่างกายลดลง (Tirapo, 2008)

                      งานวิจัยในต่างประเทศ มีการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการจัดการความปวดของ

               ผู้สูงอายุ  โดยส่วนใหญ่ พบว่าผู้สูงอายุดูแลจัดการความปวดด้วยตนเองอย่างน้อยหนึ่งวิธี ซึ่ง
               ประกอบด้วย โดยการใช้ยา การออกกําลังกาย กิจกรรมทางศาสนา การใช้ยาเป็นวิธีการที่ใช้มาก
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45