Page 47 - JRIHS_VOL1
P. 47
42 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
การดูแลตนเองในการจัดการความปวดของผู้สูงอายุโดยไม่ใช้ยา เช่น การนวด การอบ
สมุนไพร การออกกําลังกาย เป็นวิธีการที่ผู้สูงอายุนํามาใช้เพื่อบรรเทาความปวดของตัวเอง
สอดคล้องกับการศึกษาในวัฒนธรรมตะวันตก (Chatwin, Closs, & Bennett, 2009; Ersek,
Turner, McCurry, Gibbons, & Kraybill, 2003; Fitzcharles et al., 2011; Haas et al.,
2005) และข้อมูลส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ เรียนรู้และหาข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งแตกต่างจาการศึกษาใน
ประเทศไต้หวัน ที่พบว่าผู้สูงอายุรู้และมีการดูแลตนเองในการจัดการความปวดด้วยตนเองน้อย
เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาว่า ความปวดเป็นผลกรรมจากชาติก่อน จึงต้องอดทนต่อความปวด
(Tsai et al., 2010) การนอน และการนั่งพัก เป็นวิธีการที่ผู้สูงอายุใช้เพื่อบรรเทาความปวด
ของตัวเอง
สรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุกลุ่มที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง มีประสบการณ์ความ
ปวดในระดับต่ํา ส่งผลต่อกิจกรรมประจําวันของผู้อายุลดลงเล็กน้อย การดูแลจัดการตัวเองใน
การจัดการความปวดของผู้สูงอายุ มีทั้งรูปแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งเป็นกลยุทธ์การจัดการความ
ปวดของผู้สูงอายุ การศึกษาเพิ่มเติมในบริบทของวัฒนธรรมมีความจําเป็น ทั้งนี้เนื่องจากความ
แตกต่างของวัฒนธรรมอาจจะทําให้การดูแลตนเองการจัดการความเจ็บปวดของผู้สูงอายุ
แตกต่างกัน
เนื่องจากในปัจจุบันการให้บริการดูแลสุขภาพเพื่อจัดการความปวดผู้สูงอายุใน
โรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่ เน้นเนื้อหาของการฝึกอบรมบุคคลากรทางสุขภาพเกี่ยวกับ การรับรู้
ความปวดของผู้สูงอายุ และความสําคัญของการประเมินความปวด ทีมผู้วิจัยข้อเสนอแนะ ให้จัด
ฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลตนเองผู้สูงอายุที่มีความปวดในชุมชน ทั้งนี้เนื่องจากจํานวนผู้สูงอายุ
ในชุมชน และปัญหาความปวดของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ควรสอนผู้สูงอายุในการดูแล
ตนเองในการจัดการความปวดที่ถูกต้องและสอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน
เอกสารอ้างอิง
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2552). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพมหานคร:วิทยพัฒน์.
Barkin, R. L., Barkin, S. J., & Barkin, D. S. 2005 ( ). Perception, assessment, treatment,
and management of pain in the elderly. Clin Geriatr Med, )3( 21, pp.465-
490.