Page 104 - JRIHS_VOL1
P. 104

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  99

                 การพัฒนารูปแบบการใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํา

               ยุงลายขององค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

                 Local Legislation Development Model on Dengue Vector Control

                       in Subdistrict Administrative Organization of Dangmor ,

                           Khueang Nai District, Ubon Ratchathani Province


                                       มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล , วันชัย  สีหะวงษ์  , ธงศักดิ์ ดอกจันทร์
                                                           1
                                                                                             3
                                                                           2
                   Manassanan Limpavitthayakul , Wanchai Srihawong , Thongsak Deogchan
                                                                       2
                                                                                              3
                                                  1
               บทคัดย่อ

                      โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่มีความสําคัญต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่การใช้

               มาตรการควบคุมยุงลายที่ผ่านมายังไม่ได้ผลเท่าที่ควร การใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นทางเลือกหนึ่ง
               ที่สามารถนํามาใช้ในการควบคุมการระบาดของโรค ร่วมกับวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อแก้ไข

               ปัญหาการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี

               วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลในการกําจัดพาหะนํา
               โรคไข้เลือดออก และประเมินความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของประชาชน และการสํารวจค่าดัชนี

               ลูกน้ํายุงลายหลังการพัฒนารูปแบบการใช้ข้อบัญญัติ ในการกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก โดย
               การวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหา ความต้องการ และ

               ความพร้อมในการใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระยะที่ 2 กระบวนการสนับสนุนการออกข้อบัญญัติ และ

               ระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลรูปแบบการดําเนินงาน และถอดบทเรียนการดําเนินงาน ซึ่งกลุ่ม
               ตัวอย่าง คือ องค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิง

               ลึก  ร่วมกับการใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
               สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณา โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน

               เบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                      ผลการวิจัย พบว่า องค์การบริหารส่วนตําบลแดงหม้อ ใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วน
               ตําบลเพื่อกําจัดพาหะนําโรคไข้เลือดออก โดยมีกระบวนการดําเนินงาน ดังนี้ 1) การแต่งตั้ง



               1  สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี

               Timdpc7@gmail.com 045-243-235
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109