Page 29 - JRIHS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 29

24  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.4 October-December 2018

             contains data query personal factors.  Factors  adaptation  knowledge.  Skilled
             nursing and used Adapting to the workload. To adapt to the regulation. Adaptation

             to the group members. And supervisor Adaptation to the place of practice. The
             selection of respondents who complete the 100 and analyzed using statistical
             correlation coefficient of Pearson (Pearson correlation coefficient).
                     The study indicated that Factors of a personal nature Factors associated
             with knowledge. Skilled nursing and used Adjustment factors to the workload.

             Factors to adapt to the regulation. Adjustment factors to the group supervisor and
             the adjustment factor for a place to practice more. Significant of 0.05.
             Keywords: factors relating, adaptation, first clinical practice of nursing students


             บทนํา
                     นักศึกษาพยาบาลศึกษาอยูในสาขาวิทยาศาสตรสุขภาพ ถือวาเปนกลุมเสี่ยงตอการเกิด
             ปญหาสุขภาพจิต เชน ความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศรา เปนตน นักศึกษาพยาบาลเปนกลุม

             ที่อยูภายใตความกดดัน ความขับของใจ ความวิตกกังวล และความเครียดระดับสูง (Beck 1991)
             เนื่องจากตองมีการปรับตัวในดานพัฒนาการตามวัยและดานการเรียนการสอนในหลักสูตร
             พยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งนี้ในการจัดการเรียนสอนในหลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิต ประกอบ
             ไปดวยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อเตรียมนักศึกษาพยาบาลใหเปนผูที่มีความสามารถทั้งใน

             ดานวิชาการและการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานของวิชาชีพ ซึ่งการฝกภาคปฏิบัตินั้นถือ
             เปนหัวใจสําคัญของการจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร ทั้งนี้นักศึกษาพยาบาลตอง
             เผชิญกับสภาพบรรยากาศของหอผูปวยที่มีแตความเจ็บไขและทุกขทรมาน (Jack, 1992) การฝก
             ทักษะปฏิบัติ การพยาบาลที่มีความยุงยากซับซอนเพื่อดูแลผูปวยที่มีความหลากหลาย นักศึกษา

             ตองใชความอดทน ความรอบคอบ ความระมัดระวัง และความรับผิดชอบอยางสูง เพราะหาก
             เกิดความผิดพลาดอาจเปนอันตรายตอชีวิตของผูปวยได อีกทั้งยังตองปรับตัวเขากับอาจารย
             นิเทศที่มีลักษณะแตกตางกันไป การตองเผชิญและปรับตัวกับบุคลากรในหอผูปวย รวมทั้งความ
             คาดหวังของผูปวยและญาติผูปวย (Mahat, 1998) สิ่งตาง ๆ เหลานี้ลวนกอใหเกิดความเครียด

             และความกดดันกับนักศึกษาได ซึ่งนักศึกษาพยาบาลสวนใหญมีความวิตกกังวลระดับสูงเมื่อขึ้น
             ฝกปฏิบัติการพยาบาล เนื่องจากตองลงมือปฏิบัติจริงกับผูปวย ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลจึงมี
             ความเสี่ยงตอการเกิดปญหาสุขภาพจิตได เชน ความเครียด และความวิตกกังวลขณะฝก
             ภาคปฏิบัติ (Katherine, 2008)

                     การจัดโปรแกรมการเรียนของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อนักศึกษาเรียนในชั้นปที่
             2 นักศึกษาจะเริ่มฝกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานบนหอผูปวยในโรงพยาบาล ซึ่งจะตอง
             ศึกษาใหมีความรูกวางขวาง ครอบคลุมหลายทฤษฎี และหลายหลักการในการดูแลผูปวยอยางมี
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34