Page 25 - JRIHS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 25
20 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.2 No.4 October-December 2018
คณะ (2559) ซึ่ง พบวาการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธทางบวกกับการจัดการตนเองใน
การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด อาจเนื่องมาจากแมผูปวยเบาหวานกลุมนี้จะรับการรักษาที่
โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลใกลบาน แตในหมูบานไมมีรถโดยสาร ทําใหผูปวยเบาหวาน
บางสวนซึ่งไมมีรถสวนตัวเดินทางมารับบริการไมสะดวก และผูปวยเบาหวานสวนใหญเปน
ผูสูงอายุซึ่งความสามารถในการรับรูขอมูลขาวสารลดลง การแสวงหาขอมูลขาวสารจากสื่ออื่น ๆ
ลําบาก การไดรับขอมูลขาวสารเฉพาะเมื่อมาตรวจตามนัดอาจไมเพียงพอตอการควบคุมระดับ
น้ําตาลในเลือด ขณะเดียวกันปจจุบันผูสูงอายุมักอยูลําพังหรืออยูกับคูสมรสซึ่งเปนผูสูงอายุ
เชนกัน ทําใหขาดผูที่จะชวยดูแลหรือกระตุนใหเกิดความตระหนักใน การควบคุมระดับน้ําตาล
ในเลือด
4. ความสัมพันธระหวางปจจัยดานพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการควบคุมระดับ
น้ําตาลในเลือดของผูเปนเบาหวานชนิดที่ 2
จากการศึกษานี้พบวา พฤติกรรมการดูแลสุขภาพไมมีความสัมพันธกับการควบคุมระดับ
น้ําตาลในเลือดของผูที่เปนเบาหวานชนิดที่ 2 สอดคลองกับการศึกษาของกุสุมา กังหลี (2557)
แตจากการศึกษาของธนวัฒน สุวัฒนกุล (2561) ซึ่งศึกษาปจจัยที่มีความสัมพันธกับการควบคุม
ระดับน้ําตาลในเลือดของผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 พบวาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมี
ความสัมพันธกับการควบคุมน้ําตาลในเลือดอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อธิบายไดวา
ผูปวยเบาหวานสวนใหญจะใหความสําคัญกับการรับประทานยาตามแผนการรักษา มากกวาการ
ปรับพฤติกรรมการควบคุมอาหารและการออกกําลังกาย เนื่องจากคิดวาเมื่อรับประทานยาแลว
จะชวยใหหายจากโรคเบาหวานและสามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไดดี
ขอเสนอแนะ
การพัฒนารูปแบบการดูแลผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 ตองคํานึงถึงถึงปจจัยดานขอมูล
สวนบุคคล ไดแก ดัชนีมวลกาย และการมาตรวจตามนัดอยางสม่ําเสมอ โดยเนนความเปนปจเจก
บุคคล เพื่อตอบสนองความ ตองการของผูปวยเบาหวานอยางเหมาะสม ทําใหสามารถดูแล
ตนเองและควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไดดีขึ้น
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษานี้สําเร็จลุลวงไปดวยดีดวยความชวยเหลือของ พ.ท.หญิง กุสุมา กังหลี ซึ่งให
ความอนุเคราะหในการใชเครื่องมือวิจัย และการสนับสนุนจากคณะพยาบาลศาสตร
มหาวิทยาลัย ราชธานี