Page 19 - JRIHS VOL2 NO3 July-September 2018
P. 19

14  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.-3 July-September 2018

                     5. แนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน
                     ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน (Integrated Theory of Health

             Behavior change) เชื่อวา การที่บุคคลจะสามารถจัดการกับตนเองในการดูแลโรคเรื้อรังได โดย
             การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ประกอบไปดวย 3 องคประกอบ คือ ความรูและความเชื่อ การ
             เพิ่มทักษะและความสามารถในการกํากับตนเอง และการชวยเหลือทางดานสังคม
                     - ความรูและความเชื่อ (Knowledge and beliefs)
                     ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน กลาววา บุคคลจะมีแนวโนมในการ

             ปฏิบัติตามคําแนะนําดานสุขภาพ ถาบุคคลนั้นไดรับขอมูลที่สงเสริมความเชื่อดานสุขภาพที่
             เกี่ยวของกับพฤติกรรมนั้น ซึ่ง Becker และ Maiman กลาวถึง ปจจัยที่เกี่ยวกับความเชื่อดาน
             สุขภาพ 5 ประการ ไดแก การรับรูโอกาสเสี่ยงของโรค การรับรูถึงความรุนแรงของโรค การรับรู

             ประโยชนของการปองกันและรักษาโรค การรับรูอุปสรรคตอการปฏิบัติ แรงจูงใจดานสุขภาพ
             และปจจัยรวมซึ่งเปนปจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากปจจัยที่กลาวมาขางตนที่ชวยสงเสริมใหบุคคลมี
             การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพที่ถูกตอง โดยความรูและความเชื่อมีผลตอการพัฒนาสมรรถนะ
             เฉพาะสําหรับการดูแลตนเองเมื่อเกิดโรค ผลลัพธที่คาดหวัง และการตั้งเปาหมายในการ

             ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                     - ทักษะและความสามารถในการกํากับตนเองแนวคิดการ (Self-regulation skills and
             abilities
                     การกํากับตนเอง (Self-regulation) เปนกระบวนการที่บุคคลใชในการปรับเปลี่ยน

             พฤติกรรม แนวคิดการกํากับตนเองเปนแนวคิดที่สงเสริมใหบุคคลไดเรียนรูตระหนักและเห็น
             ความสําคัญในการดูแลตนเอง โดยแคนเฟอร (Kanfer, 1991 อางถึงใน สุพิณญา คงเจริญ, ชด
             ชอย วัฒนะ และธีรนุช หานิรัติศัย 2556) เชื่อวา การกํากับตนเองมีประสิทธิภาพในการทํา ให
             เกิดการคงอยูของพฤติกรรม ประกอบดวยแนวคิดหลัก3 ประการ ไดแก การเฝาระวังตนเอง

             (self-monitoring) ซึ่งเปนกระบวนการคิดพิจารณาอยางรอบคอบในการที่จะปฏิบัติพฤติกรรม
             โดยมีการสังเกตพฤติกรรมและบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้น การประเมินผลที่เกิดจากพฤติกรรม
             ตนเอง (self-evaluation) เปนการวัดผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมโดยการเปรียบเทียบขอมูลที่ได
             จากการเฝาระวังตนเองกับเปาหมายหรือเกณฑที่กําหนด นํา ไปสูการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

             และการเสริมแรงตนเอง(self-reinforcement) ซึ่งเปนการสงเสริมใหเกิดการคงอยูของ
             พฤติกรรม การกํากับตนเองเปนปฏิกิริยาการตอบสนองของบุคคลที่เกิดจากการเรียนรูโดยขึ้นอยู
             กับความใสใจ ความคิดการตัดสินใจ และความสามารถในการคิด วิเคราะหของแตละบุคคล
             กระบวนการสังเกต ดังนั้น การกํากับตนเองจึงเปนองคประกอบหนึ่งของในการปรับเปลี่ยน

             พฤติกรรมและสงผลดีตอการควบคุมโรค
                     - การชวยเหลือทางดานสังคม (Social facilitation)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24