Page 38 - JRIHS_VOL1_NO2
P. 38

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.2 July-September 2017   33

                ผานการอบรมมาจากที่เดียวกัน และลักษณะของประชากรคลายคลึงกันในการดําเนินชีวิต
                ระยะทางระหวาง 2 โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลหางกัน 5 กิโลเมตร

                        กลุมตัวอยาง เปนผูปวยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไมทราบสาเหตุ ที่มารับบริการที่
                โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลยอ อําเภอคําเขื่อนแกว จังหวัดยโสธร จํานวน 44 คน สวนกลุม
                ควบคุม เปนผูปวยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไมทราบสาเหตุที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสงเสริม
                สุขภาพตําบลโพนทัน อําเภอคําเขื่อนแกว จังหวัดยโสธร จํานวน 44 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง
                (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑในการเลือกดังนี้คือ ผูที่มีอายุ 35-65 ป เปนกลุมที่แพทย

                วินิจฉัยวาเปนโรคความดันโลหิตสูงโดยไมทราบสาเหตุ ไมมีโรคและภาวะแทรกซอนที่เปน
                อุปสรรคตอการเขารวมกิจกรรม ไดแก โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูกและขอ
                ไมมีปญหาเกี่ยวกับการไดยิน การพูด และการมองเห็น

                        การคํานวณกลุมตัวอยาง กําหนดขนาดกลุมตัวอยาง โดยคํานวณ Power Analysis
                ของCohen (1988) โดยผูวิจัยใช Paired t-test กําหนดคาแอลฟาเทากับ .05 Power of the
                test เทากับ .80 และ Effect size เทากับ .60 ไดขนาดกลุมตัวอยางเทากับ 44 ราย
                        เครื่องมือและคุณภาพของเครื่องมือ

                        เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ประกอบดวย
                        1. เครื่องมือที่ใชในการทดลอง เปนโปรแกรมการรับรูความสามารถตนเอง ที่ใชจัด
                กิจกรรม 5 ครั้ง ในระยะเวลา 12 สัปดาห ประกอบดวย 1) การใหความรูและจัดประสบการณ
                ตรง 2) การใชตัวแบบ 3) การพูดจูงใจ 4) การประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางสรีระวิทยา

                และ 5) การติดตามเพื่อกระตุนเตือนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง
                        2. เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูล เปนแบบสัมภาษณ ประกอบดวย 3 สวน
                ไดแก สวนที่ 1 ขอมูลสวนบุคคล สวนที่ 2 การรับรูความสามารถตนเอง และสวนที่ 3 พฤติกรรม
                การดูแลตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิต ดานการควบคุมอาหาร ดานการออกกําลังกาย และ

                ดานการรับประทานยา เปนขอคําถามแบบมาตราสวนประมาณคา (Rating Scale) 5 ระดับ คือ
                ปฏิบัติประจํา ปฏิบัติบอยครั้ง ปฏิบัติบางครั้ง ปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง หรือไมปฏิบัติเลย ซึ่งขอคําถาม
                มีทั้งดานบวกและดานลบ ผูเลือกตอบสามารถเลือกตอบไดเพียงคําตอบเดียวที่ตรงกับการปฏิบัติ
                ของตนเอง

                        การหาคุณภาพของเครื่องมือ หาความตรงเชิงเนื้อหา โดยผูทรงคุณวุฒิที่เปนอาจารย
                พยาบาล 1 ทาน และพยาบาลที่มีความรูความเชี่ยวชาญดานโรคเรื้อรัง 2 ทาน และตรวจสอบ
                ความเที่ยงของเครื่องมือในกลุมผูปวยความดันโลหิตสูง ที่มีลักษณะคลายคลึงกับกลุมตัวอยาง
                จํานวน 30 คน ไดคาสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach (Cronbach alpha’s Coefficient)

                เทากับ.90
                        การเก็บรวบรวมขอมูล ดําเนินการทดลองโดยกลุมทดลองไดรับโปรแกรมการรับรู
                ความสามารถตนเองเพื่อสงเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง 5 ครั้ง เปนเวลา 12 สัปดาห ดําเนิน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43