Page 36 - JRIHS_VOL1_NO2
P. 36

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.2 July-September 2017   31

                        ทฤษฎีความสามารถตนเองของ Bandura (1998) เปนทฤษฎีที่ไดรับการยอมรับวาการ
                รับรูความสามารถในตนเองเปนปจจัยนําที่ชวยใหการดูแลผูปวยโรคเรื้อรังมีประสิทธิภาพ โดย

                องคประกอบสําคัญของการพัฒนาใหบุคคลเกิดความเชื่อวาตนเองมีความสามารถ เกิดจาก
                อิทธิพลหลัก 4 ประการ คือ ประสบการณของความสําเร็จ (Mastery Experience) การไดรับ
                ประสบการณจากตนแบบ (Social Model) การไดรับการโนมนาวชักจูง (Social Persuasion)
                และสภาวะทางกายและอารมณ (Somatic and Emotional State) (Bandura, 1998) จากการ
                ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวของพบวา มีการประยุกตทฤษฎีการรับรูความสามารถตนเองในการ

                พัฒนาโปรแกรมที่เสริมสรางความสามารถตนเองในผูปวยโรคความดันโลหิตสูง และพบวา
                สามารถสงเสริมใหผูปวยมีความเชื่อมั่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองและมีผลให
                ระดับความดันโลหิตลดลง (ยุภาพร นาคกลิ้ง และคณะ, 2555; ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และคณะ,

                2555; กนกวรรณ อุดมพิทยารัชต, 2557)
                        โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลยอ มีผูปวยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไมทราบสาเหตุ
                ที่มารับบริการตรวจรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง ระหวางเดือน ตุลาคม - เดือนธันวาคม 2559
                จํานวน 394 คน เปนผูปวยที่ไมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได จํานวน 234 คน คิดเปน

                รอยละ 59.39 (โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลยอ, 2560) คลินิกโรคความดันโลหิตสูง
                โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลยอ มีการใหบริการแกผูปวย ประกอบดวย กิจกรรมบริการชั่ง
                น้ําหนัก วัดความดันโลหิต และจากการซักถามผูปวยที่ควบคุมความดันโลหิตไมได จํานวน 44
                คน พบวาทุกคนมีความรูเรื่องโรค อาการ ภาวะแทรกซอน และการปฏิบัติตัวเพื่อปองกัน

                ภาวะแทรกซอน แตสิ่งที่ยังทําไมได คือ ความสามารถในการจัดการพฤติกรรมการดูแลตนเอง
                โดยพบวา สวนใหญมีพฤติกรรมการออกกําลังกายที่ไมสม่ําเสมอ ขาดแรงจูงใจและขาดความ
                เชื่อมั่นในการดูแลตนเอง บางสวนมีพฤติกรรมการกินยาที่ไมถูกตอง สงผลใหไมสามารถควบคุม
                ความดันโลหิตได ดังนั้นผูวิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมการรับรูความสามารถตนเองโดย

                ออกแบบโปรแกรมตามแนวคิดของแบนดูรา เพื่อสงเสริมใหผูปวยโรคความดันโลหิตสูง มีการรับรู
                ในความสามารถของตนเอง และเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง จนทําให
                สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได และอาจสงผลใหสามารถปองกันหรือชะลอการเกิด
                ภาวะแทรกซอนจากโรคความดันโลหิตสูง


                วัตถุประสงคการวิจัย
                        เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรูความสามารถตนเองตอพฤติกรรมการดูแลตนเอง
                ของผูปวยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลยอ อําเภอคําเขื่อนแกว จังหวัด

                ยโสธร
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41