Page 99 - JRIHS_VOL1
P. 99

94  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            อนามัยและรองเท้านิรภัย อีกทั้งยังได้รับคําแนะนํา เกี่ยวกับประโยชน์ วิธีการใช้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ

            การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และมีการรณรงค์ให้ใช้
            อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทํางาน เนื่องจากในปี พ.ศ.2557 มีคนงานป่วยเป็นโรค

            ในระบบทางเดินหายใจเป็นจํานวนมาก (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแก่งศรีโคตร, 2559)
            จึงมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการ

            ทํางาน และมีความสอดคล้องกับการศึกษาของเอกรินทร์ พงคจิรทิพา (2547) ศึกษาเกี่ยวกับ

            ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทํางาน กรณีศึกษา บริษัท โรห์มแอนส์เฮาส์
            เคมิคอล ประเทศไทย จํากัด พบว่า การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านการใช้

            เครื่องมือเครื่องจักรอย่างปลอดภัย และด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทํางานอยู่ในระดับสูง
            และส่งผลให้พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทํางานสูงไปด้วย

                    ด้านความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุการเจ็บป่วยจากการทํางานการป้องกัน

            และการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางานเฟอร์นิเจอร์ไม้ พบว่าระดับความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ
            85.88 คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่อง การเร่งรีบเป็นสาเหตุทําให้เกิดอุบัติเหตุ

            ในการทํางาน ณ จุดที่ทํางานหากมีแสงสว่างไม่เพียงพอจะทําให้เกิดอุบัติเหตุขณะทํางาน ในกรณี

            ที่เกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน ต้องหยุดทํางานนั้นๆ ทันที สารไวไฟเช่นทินเนอร์หรือ แลคเกอร์
            ต้องแยกเก็บไว้เป็นสัดส่วนโดยมีป้ายเตือนอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน

            ขณะยกหรือวางของที่มีน้ําหนักมากควรย่อตัวลงเพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อและ
            กระดูกสันหลัง คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้มีความรู้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีเจ้าหน้าสาธารณสุข

            จากสํานักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานีเข้ามาอบรมให้ความรู้กับคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้

            เป็นประจําทุกปี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของนินนาท (2547) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ
            ในการทํางานของผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในบริษัทรับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าผู้ใช้แรงงานมี

            ความรู้อยู่ในระดับสูง ผู้ใช้แรงงานรู้ว่าเมื่อทํางานในที่สูงจะต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการพลัดตก
            รู้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนงานควรมีการเรียนรู้งานนั้นให้ดีก่อนลงมือปฏิบัติ และรู้ว่าการตรวจสอบ


            เครื่องมือก่อนการทํางานสามารถช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้
                     ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุการเจ็บป่วยจากการทํางานการป้องกัน
            และการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางานเฟอร์นิเจอร์ไม้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทํางานที่

            ปลอดภัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (<0.001) ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่ 1 ซึ่ง

            สอดคล้องกับงานวิจัยของกวินช์ตา อภิชนาดล (2546) ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกัน
            อุบัติเหตุในการทํางานของคนงานโรงงานทําเฟอร์นิเจอร์พื้นที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104