Page 100 - JRIHS_VOL1
P. 100
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 95
พบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการทํางานอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัยของภัทรทิยา กิจจิว (2551) ที่ศึกษา
เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทํางานของพนักงานฝ่ายผลิตใน
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เขตอําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า
ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกัน
อุบัติเหตุจากการทํางานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การที่ความรู้มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอาจเนื่องมาจาก ในพื้นที่บ้านบากชุม และบ้านห้วยเดื่อ มีเจ้า
หน้าสาธารณสุขจากสํานักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานีเข้ามาอบรมให้ความรู้กับคนงาน
ทําเฟอร์นิเจอร์ไม้เมื่อปี พ.ศ.2557และปีพ.ศ. 2558 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของนินนาท
อ่อนหวาน (2547) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานของผู้ใช้แรงงานก่อสร้างใน
บริษัทรับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้อยู่ในระดับสูง ผู้ใช้แรงงานรู้ว่าเมื่อ
ทํางานในที่สูงจะต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการพลัดตก รู้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนงานควรมีการเรียนรู้
งานนั้นให้ดีก่อนลงมือปฏิบัติ และรู้ว่าการตรวจสอบเครื่องมือก่อนการทํางานสามารถช่วย
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ และสอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้ศึกษามาข้างต้นเมื่อคนงานมีความรู้
เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานย่อมทําให้ตนเองมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการ
ทํางานที่ดีด้วย
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. จากผลการศึกษา พบว่าความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัย
ของคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ ดังนั้นควรมีการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ําสมอ เพื่อให้กลุ่มที่
ยังมีความรู้ต่ํามีความรู้เพิ่มมากขึ้น
2.จากผลการศึกษา พบว่าคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่ยังขาดอุปกรณ์ป้องกัน
อันตรายส่วนบุคคล ประเภทป้องกันหู ควรมีการจัดหาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก
ให้กับผู้ประกอบอาชีพ
ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัย
เช่นปัจจัยด้าน ทัศนคติ การรับรู้
2. ควรมีการจัดโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยในการทํา
เฟอร์นิเจอร์ไม้